หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2562
หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2562 1 บทน� ำ เกษตรกรรม ถือว่าเป็นอาชีพพื้นฐานของคนไทย เนื่องจากประเทศไทยมีลักษณะ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมที่จะท� ำการเพาะปลูกต่าง ๆ คนไทยจึงนิยมท� ำการเกษตรมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งผลผลิตทางการเกษตรก็ยังเป็น สินค้าส่งออกส� ำคัญของไทยที่สามารถท� ำรายได้ให้กับประเทศได้อย่างมาก แต่เมื่อพิจารณา มูลค่าส่งออกของสินค้าเกษตรกรรม พบว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีแนวโน้มส่งออกสินค้า เกษตรกรรมลดลงเมื่อเทียบกับปี 2554 ซึ่งสวนทางกับมูลค่าหนี้สินของครัวเรือนเกษตรที่ เป็นหนี้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (แผนภูมิ 1) เนื่องจากการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมที่ลดลง ท� ำให้ เกษตรกรต้องพึ่งพาการขายสินค้าเกษตรภายในประเทศมากขึ้น ส่งผลให้สินค้าเกษตรล้นตลาด ราคาสินค้าเกษตรตกต�่ ำ ท� ำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลงไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย จึงอาจส่งผลให้ เกษตรกรต้องกู้หนี้ยืมสินเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และลงทุนในการท� ำการเกษตร แผนภูมิ 1 มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรกรรม และมูลค่าหนี้สินของครัวเรือนเกษตรที่เป็นหนี้ พ.ศ. 2554-2562 ที่มา: 1. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส� ำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร 2. การส� ำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ส� ำนักงานสถิติแห่งชาติ ล้านบาท บาท/ครัวเรือน - 200,000 400,000 600,000 800,000 1,000,000 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 140,404 168,119 200,689 239,034 253,295 875,661 687,562 679,761 777,084 675,198 140,404 168,119 200,689 239,034 253,295 875,661 687,562 679,761 777,084 675,198 - 100,000 200,000 300,000 400,000 500,000 600,000 - 200,000 400,000 600,000 800,000 1,000,000 2557 2558 2559 2560 2561 2562 มูลค่าหนี� สินของครัวเรือนเกษตรที� เป็นหนี� มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรกรรม ล้านบาท บาท / ครัวเรือน - 100,000 200,000 300,000 400,000 500,000 600,000 เมื่อพิจารณาจากอัตราการขยายตัวของ GDP ในภาคการเกษตร พบว่า มีอัตราการ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ถึงปี 2560 และลดลงในปี 2561 - 2562 โดยในปี 2562 มีอัตราการ ขยายตัวลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับปี 2561 และหากพิจารณาโครงสร้าง GDP พบว่า สัดส่วน ของ GDP ในภาคการเกษตร มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นว่าในปี 2558 มีสัดส่วนอยู่ ที่ร้อยละ 8.9 และลดลงเหลือร้อยละ 8.1 ในปี 2562 โดยการลดลงดังกล่าวส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมา จากภัยธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน�้ ำฝนที่น้อยลงใน บางพื้นที่ ประกอบกับฝนทิ้งช่วง เป็นต้น (แผนภูมิ 2)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==