หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2562
หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2562 3 ขอบเขตการศึกษา ในการศึกษาลักษณะทั่วไปของครัวเรือนเกษตรและครัวเรือนเกษตรที่เป็นหนี้ รวมถึง ลักษณะของการก่อหนี้และเงินออมของครัวเรือนเกษตร ใช้ข้อมูลจากโครงการส� ำรวจภาวะเศรษฐกิจ และสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2562 และมีการถ่วงน�้ ำหนัก (Weighted Data) ส่วนการศึกษาปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการเป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตร ใช้ข้อมูลครัวเรือนเกษตรจากตัวอย่างจ� ำนวน 5,743 หน่วยตัวอย่าง และไม่มีการถ่วงน�้ ำหนัก (Unweighted Data) ข้อมูลสถิติที่น� ำเสนอในรายงานฉบับนี้ ได้จากการประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการส� ำรวจ ทั่วประเทศ โดยในตารางสถิติบางตารางผลรวมของแต่ละจ� ำนวนอาจไม่เท่ากับยอดรวมและข้อมูล ในแต่ละตารางอาจมีความแตกต่างกัน เนื่องจากข้อมูลแต่ละจ� ำนวนได้มีการปัดเศษโดยอิสระจากกัน ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ความหมายของหนี้สิน • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้นิยาม หนี้สิน คือ เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่ จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง • หนี้ ได้แก่นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ลูกหนี้” มีหน้าที่ต้องกระท� ำ การอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “เจ้าหนี้” หน้าที่ดังกล่าวนั้นได้แก่ (1) กระท� ำการอย่าง หนึ่งอย่างใด (2) กระท� ำการละเว้นกระท� ำการ และ (3) กระท� ำการส่งมอบทรัพย์สิน ค� ำว่าหนี้บางครั้ง เรียกว่า “สิทธิเรียกร้อง (claim)” (ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, 2553: 75) • ค� ำว่า “หนี้” แม้จะเป็นค� ำไทย แต่ความหมายและแนวความคิดในเรื่องหนี้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้น� ำเอาแนวความคิดเรื่องหนี้มาจากระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ซึ่งมีรากฐาน มาจากกฎหมายโรมัน หนี้ค� ำนี้จึงเป็นค� ำแปลของสิทธิชนิดหนึ่ง เรียกกันในกฎหมายโรมันว่า obligation ถ้าจะแปลสั้น ๆ ตามถ้อยค� ำก็คงแปลได้ว่าเป็น “ภาระ” หรือ “หน้าที่” หรือความเป็นหนี้ ซึ่งเป็นการมอง จากทางด้านลูกหนี้ โดยเป็นผู้มีความผูกพันจะต้องช� ำระหนี้ หากมองทางด้านเจ้าหนี้ “หนี้” ถือว่าเป็น สินทรัพย์ (asset) อันเป็นส่วนหนึ่งของกองทรัพย์สินของเจ้าหนี้ แต่เมื่อมองทางด้านลูกหนี้ “หนี้” ก็เป็น ความรับผิดทางด้านการเงินของลูกหนี้ (โสภณ รัตนากร, 2551: 5) ความหมายของการออม เงินออม ตามความหมายพจนานุกรมเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ส่วนหนึ่งของรายได้ที่ไม่ได้ ใช้จ่ายไปเพื่อบริโภค หากแต่เก็บไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้จ่ายต่าง ๆ ในอนาคต การใช้เงินออมอาจ ท� ำได้หลายรูปแบบ เช่น การถือไว้เป็นเงินสด น� ำเงินออมไปฝากธนาคาร หรือน� ำเงินออมไปซื้อหลักทรัพย์ เป็นต้น (ธรรมศาสตร์, 2546: 46)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==