หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2562

หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2562 4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ส� ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2562) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่าย การออม หนี้สิน ปัจจัยที่ก� ำหนดการตัดสินใจก่อหนี้และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่าย การออม หนี้สิน และปัจจัยที่ก� ำหนดการตัดสินใจก่อหนี้และความต้องการกู้ โดยในการวิเคราะห์ได้ใช้แบบจ� ำลอง โลจิสติก ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลหรือก� ำหนดการเป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตร มีจ� ำนวน 7 ตัวแปร ได้แก่ ภาค เขตชลประทาน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้า ครัวเรือน สถานภาพสมรส จ� ำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ก� ำลังเรียนหนังสือ และจ� ำนวนสมาชิกที่มีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่ท� ำงานหารายได้ วรัญญา ไชยทารินทร์ และธัญทิพย์ คฤหโยธิน (2562) ศึกษาสถานการณ์หนี้สิน ในระบบและปัจจัยที่มีผลต่อหนี้สินในระบบของครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดพะเยา โดยวิธีการ เก็บแบบสอบถามจากลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จ� ำนวนทั้งสิ้น 400 ครัวเรือนตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และแบบจ� ำลองการถดถอยพหุคูณ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุในช่วง 40-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 82.5 และพบว่าเกษตรกรที่มีอายุน้อย กว่า 39 ปี มีเพียงร้อยละ 8 ส� ำหรับสถานการณ์หนี้สินในระบบของครัวเรือนเกษตรกรจังหวัดพะเยา พบว่าเกษตรกรมีการกู้ยืมเงินจากธนาคารในระบบ คิดเป็นร้อยละ 81 โดยส่วนใหญ่กู้ยืมจากธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 98 มีอัตราส่วนจ� ำนวนเงินกู้ยืมสูงกว่ารายได้จาก การเกษตรถึง 4.5 เท่า และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อหนี้สินในระบบของครัวเรือนในจังหวัดพะเยา ได้แก่ อายุของหัวหน้าครัวเรือน จ� ำนวนผู้พึ่งพิงในครัวเรือน รายได้จากการเกษตร และพื้นที่ถือครองใน การเกษตรที่เป็นเจ้าของ ปัณภ์ปวีณ รณรงค์นุรักษ์ (2558) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อหนี้สินของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ข้าว และมันส� ำปะหลังในเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และเพชรบุรี โดยวิธีการเก็บแบบสอบถามแก่ กลุ่มเกษตรกรจ� ำนวนทั้งสิ้น 383 ราย และท� ำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัย ได้แก่ ปัจจัย พื้นฐานทางครอบครัว ลักษณะการประกอบอาชีพทางการเกษตรหลักและอาชีพเสริม รายได้ ทัศนคติ ต่อเงินและหนี้สินและต่อนโยบายด้านการอุดหนุนราคาพืชผลทางการเกษตรจากรัฐบาล ต่อระดับ หนี้สินครัวเรือนภาคเกษตร พบว่ามูลค่าหนี้มีความสัมพันธ์กับจ� ำนวนสมาชิกในครัวเรือน สมาชิกใน ครัวเรือนที่มีรายได้ มูลค่าหนี้และสถานะการเป็นหนี้มีความสัมพันธ์กับพื้นที่เพาะปลูก ผลผลิตต่อไร่ และการเช่าพื้นที่เพาะปลูก กล่าวคือเกษตรกรที่เป็นหนี้จะมีมูลค่าหนี้มากขึ้น เมื่อมีจ� ำนวนสมาชิก และจ� ำนวนสมาชิกที่มีรายได้ในครัวเรือนมากขึ้น เนื่องจากมีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งหนี้สิน เพิ่มขึ้น ส� ำหรับการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้านสาเหตุการก่อหนี้ พบว่าสาเหตุของการก่อหนี้ที่ส� ำคัญคือ หนี้จากต้นทุนทางการเกษตร หนี้เพื่อการศึกษาบุตรหลาน หนี้เพื่อการเช่าซื้อยานพาหนะ หนี้เพื่อ น� ำไปช� ำระหนี้เดิม หนี้เพื่อการรักษาพยาบาล หนี้เพื่อการซ่อมแซมบ้าน หนี้เพื่อผ่อนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า และหนี้สินจากการผ่อนช� ำระเคหสถาน โดยส่งผลต่อสถานการณ์เป็นหนี้จากมากไปน้อยตามล� ำดับ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==