หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2562

หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2562 6 ส� ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2557) ศึกษาสถานการณ์ภาวะหนี้สินครัวเรือนเกษตรใน ปัจจุบัน จากการหาความสัมพันธ์ของตัวแปรหนี้ครัวเรือนเกษตรกับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ GDP ขนาด ครัวเรือน เนื้อที่ถือครองท� ำการเกษตร และสัดส่วนแรงงานต่อสมาชิกครัวเรือนทั้งหมด พบว่ามูลค่า หนี้สินสะสมมีความสัมพันธ์กับระยะเวลา ยิ่งระยะเวลามากขึ้น จะมีแนวโน้มมีหนี้สินสะสมเพิ่ม มากขึ้น และเมื่อมีพื้นที่ถือครองท� ำการเกษตรเป็นจ� ำนวนมาก จะส่งผลให้หนี้สินของครัวเรือนเกษตร เพิ่มมากขึ้น โดยความสัมพันธ์สอดคล้องกับสถิติหนี้สินและมูลค่าทรัพย์สิน โดยหนี้สินและมูลค่า ทรัพย์สินมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน แสดงให้เห็นการลงทุนบางส่วนในทรัพย์สินเพื่อการเกษตร หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น อาจท� ำให้หนี้สินสะสมเพื่อการลงทุนท� ำการ เกษตรเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ในขณะที่ตัวแปรขนาดครัวเรือนมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับ ขนาดหนี้สินของครัวเรือน หรือกล่าวได้ว่าการเพิ่มขึ้นของขนาดครัวเรือน อาจท� ำให้มีจ� ำนวนแรงงาน ภายในครอบครัวเพิ่มขึ้น จึงส่งผลต่อขนาดหนี้สินของครัวเรือนในภาคเกษตร มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2558) ศึกษาภาวะหนี้สินเกษตรกรและ แนวทางการปรับปรุงศักยภาพการด� ำเนินงานกองทุนในก� ำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาวะหนี้สินเกษตรกรทั้งระบบและการประเมินกองทุน โดยศึกษาถึง ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณหนี้เงินกู้ของครัวเรือนเกษตร ใช้ข้อมูลการส� ำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคม ของครัวเรือน พ.ศ. 2556 มีข้อมูลทั้งหมด 9,955 ครัวเรือน วิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยโดยใช้วิธี ก� ำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square Regression: OLS) พบว่ารายได้ครัวเรือน ปริมาณ ที่ดินที่ครัวเรือนครอบครอง และมูลค่าทรัพย์สินทางการเงิน เป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีความส� ำคัญ ต่อความสามารถในการกู้ยืมเงินในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ส� ำหรับความจ� ำเป็นที่ครัวเรือนจะกู้เงินเพิ่ม ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายสูง มีภาระที่ต้องดูแลสมาชิกในครัวเรือนจ� ำนวนมาก หรือมีคู่สมรส นอกจากนี้ครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนที่มีการศึกษาสูงขึ้นมักมีหนี้เงินกู้จ� ำนวน มากกว่าครัวเรือนที่ไม่มีการศึกษา ในขณะที่ครัวเรือนเกษตรที่เช่าที่ดินมีหนี้เงินกู้สูงกว่าครัวเรือนที่ ไม่ได้เช่าที่ดิน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==