หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2562

หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2562 54 2. สถานการณ์การเป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตร ครัวเรือนเกษตรที่เป็นหนี้มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 72.4 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 62.8 ในปี 2562 ในขณะที่มูลค่าหนี้สินเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจาก 140,404 บาทต่อครัวเรือน ในปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็น 253,295 บาทต่อครัวเรือน ในปี 2562 และพบว่าในปี 2562 ครัวเรือนเกษตรใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนครัวเรือนที่เป็นหนี้สูงสุด ร้อยละ 76.5 รองลงมาคือ ภาคเหนือ ร้อยละ 62.8 ภาคกลาง ร้อยละ 58.4 และภาคใต้ ร้อยละ 44.4 ตามล� ำดับ เมื่อพิจารณาแหล่งเงินกู้และวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม พบว่าในปี 2562 ครัวเรือน เกษตรที่เป็นหนี้กู้เงินในระบบมากกว่านอกระบบ โดยมีการกู้เงินในระบบ ร้อยละ 94.9 ส่วน นอกระบบมีการกู้เงิน ร้อยละ 2.4 และพบว่าครัวเรือนเกษตรที่เป็นหนี้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตรมากที่สุดร้อยละ 56.6 รองลงมาคือ กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน/ชุมชนเมือง ร้อยละ 25.9 สถาบันการเงินและแหล่งเงินกู้ทุนอื่น ร้อยละ 7.6 และธนาคารพาณิชย์ ร้อยละ 3.1 ตามล� ำดับ ส� ำหรับวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม พบว่าครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่กู้ยืมเพื่อใช้ท� ำการเกษตร มากที่สุดร้อยละ 60.0 รองลงมาคือ ใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ในครัวเรือน ร้อยละ 22.7 ซื้อ/เช่าซื้อบ้าน/ที่ดิน ร้อยละ 9.7 และใช้ประกอบธุรกิจ ร้อยละ 6.3 ตามล� ำดับ เมื่อพิจารณาลักษณะทางเศรษฐกิจ พบว่าในปี 2562 ครัวเรือนเกษตรที่เป็นหนี้มีรายได้ ทั้งสิ้น 23,294 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 17,035 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน และ พบว่าครัวเรือนเกษตรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองมีมูลค่าหนี้สินเฉลี่ยมากที่สุด 321,654 บาทต่อ ครัวเรือน ความสามารถในการช� ำระหนี้ (ด้านรายได้) พบว่าครัวเรือนเกษตรมีความสามารถในการ ช� ำระหนี้ลดลง โดยในปี 2554 มีสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ 7.1 เท่า ส่วนในปี 2562 มีสัดส่วนหนี้สิน ต่อรายได้ 10.9 เท่า และเมื่อพิจารณาความสามารถในการช� ำระหนี้ (ด้านสินทรัพย์) พบว่าครัวเรือน เกษตรมีความสามารถในการช� ำระหนี้เพิ่มขึ้น โดยในปี 2560 มีสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สิน 9.1 เท่า ส่วนปี 2562 มีสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สิน 8.6 เท่า

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==