หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2564

หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2564 3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการวางแผนนโยบาย เพื่อลดภาระหนี้สินของครัวเรือนและ ครัวเรือนเกษตร 2. น� ำผลการศึกษาไปใช้ในการวางแผนแก้ปัญหาหนี้สินของครัวเรือนเกษตร ขอบเขตการศึกษา ในการศึกษาลักษณะทั่วไปของครัวเรือนเกษตรและครัวเรือนเกษตรที่เป็นหนี้ รวมถึง ลักษณะของการก่อหนี้และเงินออมของครัวเรือนเกษตร ใช้ข้อมูลจากโครงการส� ำรวจภาวะเศรษฐกิจ และสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2564 โดยมีการถ่วงน�้ ำหนักข้อมูล (Weighted Data) ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตร ได้แก่ ปัจจัยด้าน ภูมิศาสตร์ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ใช้ข้อมูลครัวเรือนเกษตรตัวอย่างจากโครงการ ส� ำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน จ� ำนวน 6,595 หน่วยตัวอย่าง โดยไม่มีการถ่วงน�้ ำหนัก ข้อมูล (Unweighted Data) ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ความหมายของหนี้สิน • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้นิยาม หนี้สิน คือ เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่ จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง • หนี้สิน บัญญัติศัพท์โดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย หมายถึง จ� ำนวนเงินที่กิจการเป็นหนี้บุคคลอื่นหรือพันธะอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืมหรือเกิดจาก การอื่น ซึ่งจะต้องช� ำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์ หรือบริการ • ค� ำว่า “หนี้” แม้จะเป็นค� ำไทย แต่ความหมายและแนวความคิดในเรื่องหนี้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้น� ำเอาแนวความคิดเรื่องหนี้มาจากระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ซึ่งมีรากฐานมา จากกฎหมายโรมัน หนี้ค� ำนี้จึงเป็นค� ำแปลของสิทธิชนิดหนึ่ง เรียกกันในกฎหมายโรมันว่า obligation ถ้า จะแปลสั้น ๆ ตามถ้อยค� ำก็คงแปลได้ว่าเป็น “ภาระ” หรือ “หน้าที่” หรือความเป็นหนี้ ซึ่งเป็นการมองจาก ทางด้านลูกหนี้ โดยเป็นผู้มีความผูกพันจะต้องช� ำระหนี้หากมองทางด้านเจ้าหนี้“หนี้” ถือว่าเป็นสินทรัพย์ (asset) อันเป็นส่วนหนึ่งของกองทรัพย์สินของเจ้าหนี้ แต่เมื่อมองทางด้านลูกหนี้ “หนี้” ก็เป็นความรับผิด ทางด้านการเงินของลูกหนี้ (โสภณ รัตนากร, 2551: 5) ความหมายของการออม เงินออม ตามความหมายพจนานุกรมเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ส่วนหนึ่งของรายได้ที่ไม่ได้ใช้จ่าย ไปเพื่อบริโภค หากแต่เก็บไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้จ่ายต่าง ๆ ในอนาคต การใช้เงินออมอาจท� ำได้ หลายรูปแบบ เช่น การถือไว้เป็นเงินสด น� ำเงินออมไปฝากธนาคาร หรือน� ำเงินออมไปซื้อหลักทรัพย์ เป็นต้น (ธรรมศาสตร์, 2546: 46)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==