หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2564

หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2564 4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พลอยปภัส ไชยยานนท์ และวิจิตต์ศรี สงวนวงศ์ (2564) ศึกษาสภาวะหนี้สินและปัจจัยที่ มีความสัมพันธ์ต่อหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ในเขตภาคเหนือ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาวะหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ที่กู้จากสหกรณ์การเกษตร ในเขตภาคเหนือ และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ในเขตภาคเหนือ ผู้ให้ข้อมูล หลักในการศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตร ในเขตภาคเหนือ จ� ำนวน 404 ราย พบว่าปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์ต่อหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรอย่างมีนัยส� ำคัญทางสถิติ จ� ำนวน 16 ตัวแปร ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล 5 ตัวแปร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ จ� ำนวนสมาชิกใน ครัวเรือน ปัจจัยด้านสภาพเศรษฐกิจ 2 ตัวแปร ได้แก่ รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ของครัวเรือนต่อเดือน ปัจจัยด้านค่านิยม/ทัศนคติ 7 ตัวแปร ได้แก่ การรู้จักบริหาร การวางแผนจัด การเงิน (รับ-จ่าย) ท� ำให้การก่อหนี้ลดลง ความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างอุโบสถ มีผลต่อการก่อหนี้ หากรายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้น จะใช้จ่ายในปัจจุบันเพิ่มขึ้น สินค้า เงินผ่อนมีแรงจูงใจให้ซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น การกู้ยืมเงินท� ำให้จับจ่ายใช้สอยได้ง่ายขึ้นตามที่ต้องการ หรือในยามฉุกเฉิน ค่าครองชีพสูงขึ้นสินค้ามีราคาแพงมากขึ้นมีผลต่อการก่อหนี้ นโยบายการเมือง/ รัฐบาล มีผลต่อการก่อหนี้และปัจจัยด้านความจ� ำเป็นในการบริโภค/อุปโภค 2 ตัวแปร ได้แก่ ความสะดวกสบายในชีวิต ความต้องการปัจจัยสี่ สุริยะ หาญพิชัย เฉลิมพล จตุพร และ วสุ สุวรรณวิหค (2563) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ หนี้สินครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีและปัจจัยที่ส่งผลต่อหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรในจังหวัดลพบุรี จ� ำนวนรวม 400 คน การวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์สมการถดถอย ใช้วิธีก� ำลังสองน้อยที่สุดสามัญ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรเป็นหนี้เฉลี่ย 83,992.50 บาท ส่วนใหญ่เป็น หนี้ในระบบ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นแหล่งกู้ยืมหลักของครัวเรือนเกษตร และกู้ยืมเพื่อใช้ในการผลิต กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันส� ำปะหลังจะมีหนี้สินโดยเฉลี่ยน้อยกว่าเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยมีหนี้สินไม่แตกต่างไปจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2) ปัจจัยที่ ส่งผลต่อหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี พบว่า การออม รายได้นอกภาคการเกษตร และ รายจ่ายในภาคการเกษตร เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อปริมาณหนี้สิน ในขณะที่รายจ่าย นอกภาคการเกษตร เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อปริมาณหนี้สินครัวเรือนเกษตรกร สุริยะ หาญพิชัย (2563) ศึกษาหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรไทย: สถานภาพความรู้ปัจจุบัน และข้อสังเกตบางประการ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์สาเหตุที่ก่อ ให้เกิดหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกรไทยซึ่งก� ำหนดระเบียบวิธีการศึกษาโดยใช้กระบวนวิธีการวิจัย เอกสาร ด� ำเนินกระบวนการศึกษา ทบทวนข้อมูลแนวคิด ทฤษฎีและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ทุติยภูมิเป็นหลัก รวบรวมจากเอกสารหนังสือ ต� ำรา รวมทั้งรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหนี้สิน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==