หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2564

หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2564 62 3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตร การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตรโดยใช้การวิเคราะห์การ ถดถอย โลจิสติกเชิงพหุแบบทวิภาค (Binary Logistic Regression) พบว่ามี 10 ตัวแปร จากทั้งหมด 14 ตัวแปร ที่มีผลต่อการเป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตร ได้แก่ ภาค เขตการปกครอง สถานภาพสมรส ของหัวหน้าครัวเรือน จ� ำนวนเด็กในครัวเรือน จ� ำนวนผู้สูงอายุในครัวเรือน จ� ำนวนสมาชิกในครัวเรือน ที่ท� ำงานหารายได้ ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือน มูลค่าทรัพย์สินของครัวเรือน จ� ำนวนพื้นที่ท� ำการ เกษตร และการเป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีรายละเอียดในการวิเคราะห์แต่ละปัจจัย ดังนี้ • ครัวเรือนเกษตรที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีโอกาสเป็นหนี้มากกว่าครัวเรือน เกษตรในภาคอื่น ๆ • ครัวเรือนเกษตรที่อยู่นอกเขตเทศบาล มีโอกาสเป็นหนี้มากกว่าครัวเรือนเกษตรที่อยู่ใน เขตเทศบาล • หัวหน้าครัวเรือนเกษตรที่มีสถานภาพเป็นสมรส มีโอกาสเป็นหนี้มากกว่าสถานภาพอื่น ๆ • ถ้าครัวเรือนเกษตรมีจ� ำนวนเด็กเพิ่มขึ้น 1 คน มีโอกาสที่เป็นหนี้เพิ่มขึ้น • ถ้าครัวเรือนเกษตรมีจ� ำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 1 คน มีโอกาสที่เป็นหนี้ลดลง • ถ้าครัวเรือนเกษตรมีจ� ำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ท� ำงานหารายได้เพิ่มขึ้น 1 คน มีโอกาส ที่เป็นหนี้เพิ่มขึ้น • ถ้าครัวเรือนเกษตรมีจ� ำนวนพื้นที่ท� ำการเกษตรเพิ่มขึ้น 1 ไร่ มีโอกาสเป็นหนี้เพิ่มขึ้น • ครัวเรือนเกษตรที่ไม่ใช้ที่ดินในการท� ำเกษตร มีโอกาสเป็นหนี้น้อยกว่าครัวเรือนเกษตร ที่มีที่ดินเป็นของตนเอง • ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือนและมูลค่าทรัพย์สินเฉลี่ย แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์กับการ เป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตรอย่างมีนัยส� ำคัญทางสถิติ แต่การเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ย ต่อเดือนและมูลค่าทรัพย์สินเฉลี่ยท� ำให้โอกาสที่ครัวเรือนจะเป็นหนี้หรือไม่เป็นหนี้เท่ากัน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==