การติดตามเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวผ่านข้อมูลอุตสาหกรรมไทย
The Business and Industrial Census: An Analysis Series 8 0.2 0.1 0.3 0.1 0.1 0.1 1.2 0.9 3.0 0.7 0.6 0.9 0.0 1.0 2.0 3.0 2555 2560 2565 ภาคการผลิตโดยรวม เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ การวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ในการจะบรรลุเป้าหมายการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG จําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพา การใช้นวัตกรรมในการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งนวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยการลงทุน ในการศึกษาวิจัยและพัฒนา ซึ่งสัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นตัวชี้วัดที่สําคัญ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) อีกด้วย จากข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของสถานประกอบการการผลิตในประเทศไทย พบว่า มีสัดส่วนที่ตํ่ามากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น โดยในปี พ . ศ . 2565 มีค่าเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.3 อย่างไรก็ดี จะเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นจาก 5 ปีก่อนหน้า ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่เพียงร้อยละ 0.1 หากพิจารณาในรายสาขายุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ BCG สาขาสุขภาพและการแพทย์มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาสูงที่สุด โดยมี ค่าเฉลี่ยร้อยละ 1.2 ในปี พ . ศ . 2555 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงมาก จนกระทั่งในปี พ . ศ . 2565 มีค่าเฉลี่ยกว่า ร้อยละ 3.0 สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกัน เพียงแต่ค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่าย ในส่วนนี้มีไม่ถึงร้อยละ 1.0 สําหรับสาขาที่เชื่อมโยงกับเกษตรและอาหาร เป็นที่น่าสังเกตว่า ค่าใช้จ่ายในการวิจัย และพัฒนามีสัดส่วนที่ตํ่าเพียงร้อยละ 0.1 และไม่มีแนวโน้มของการเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของสาขาเกษตรและอาหารมีแนวโน้ม ที่ลดลงในอุตสาหกรรมการผลิตไทย ภาพที่ 10: สัดส่วนค่าใช้จ่ายในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ต่อค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของสถานประกอบการ การผลิตแยกตามสาขายุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ BCG ร้อยละ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==