การติดตามเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวผ่านข้อมูลอุตสาหกรรมไทย

THE BUSINESS AND INDUSTRIAL CENSUS: AN ANALYSIS SERIES กองสถิติเศรษฐกิจ สํานักงานสถิติแห่งชาติ โมเดลเศรษฐกิจ BCG การพัฒนาประเทศในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการมุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ที่คํานึงถึงตัวเลขการเจริญเติบโตเป็นหลัก เช่น ตัวเลขการเจริญเติบโตของรายได้ต่อประชากร จํานวนการ จ้างงาน การผลิตภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งสามารถยกระดับประเทศได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามผล ของการพัฒนาดังกล่าวแลกมาด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล ทําให้เกิดความเสื่อมโทรมในหลากหลาย มิติ สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดของเหลือที่สร้างมลพิษ ซึ่งท้ายที่สุด จะเป็นปัญหาที่ย้อนกลับมากระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว นอกจากนี้ ในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง และมีค่าเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3 ต่อปี เนื่องจากไม่สามารถสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรที่ใช้ไปได้อย่างเต็มศักยภาพ สะท้อนภาพของ การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีลักษณะ “ ทํามากแต่ได้น้อย ” ด้วยรูปแบบการพัฒนาดังกล่าว ไม่เพียงพอต่อการทําให้ ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้ 1 จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทําให้ประเทศไทยจําเป็นต้องหาแนวทางการพัฒนารูปแบบใหม่ที่คํานึง ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาด้านสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ดังนั้น เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model): โมเดล เศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ พ . ศ . 2564 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นแนวทางที่พยายาม สร้างความสมดุลในการพัฒนาทั้งสามด้าน ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ผ่านข้อมูลจุลภาคอุตสาหกรรมไทย Monitoring Bio-Circular-Green (BCG) Economy from Thai’s Industrial Microdata BCG

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==