การติดตามเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวผ่านข้อมูลอุตสาหกรรมไทย
The Business and Industrial Census: An Analysis Series 2 BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นใน 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยคํานึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและยาวนานที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเน้นความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดย BCG Model ในระยะแรก ให้ความสําคัญกับ 4 สาขา ยุทธศาสตร์ ได้แก่ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ การท่องเที่ยวและ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งมีสัดส่วนใน GDP ถึงร้อยละ 21 และเกี่ยวข้องกับการจ้างงานของคนในประเทศ มากกว่า 16.5 ล้านคน 2 แนวทางการวิเคราะห์ สํานักงานสถิติแห่งชาติได้มีการจัดทําโครงการสํามะโนอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโครงการเก็บรวบรวม ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจํานวนและลักษณะที่สําคัญของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ทั่วประเทศ โดยเป็นข้อมูลที่ได้จากขั้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดการดําเนินกิจการของ สถานประกอบการ ในปี พ . ศ . 2555 w. ศ . 2560 และ พ . ศ . 2565 มีรายการข้อมูลที่เก็บรวบรวม เช่น ประเภท อุตสาหกรรม ขนาดของสถานประกอบการ จํานวนคนทํางานและลูกจ้าง ค่าตอบแทนแรงงาน ต้นทุนการผลิต มูลค่าผลผลิต สินทรัพย์ถาวร เป็นต้น สําหรับสถานประกอบการที่มีคนทํางานมากกว่า 10 คน จะทําการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกสถานประกอบการ (Complete Enumeration Survey) ส่วนสถานประกอบการที่มี คนทํางาน 1 - 10 คน จะใช้วิธีการสํารวจด้วยตัวอย่าง (Sample Survey หรือ Partial Enumeration Survey) ในการวิเคราะห์สถานการณ์ภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องกับ BCG Model นั้น จะเลือก เฉพาะสถานประกอบการที่ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม ประเทศไทย ปี 2552 (Thailand Standard Industrial Classification: TSIC-2009) ที่มีความเชื่อมโยงกับ 4 สาขายุทธศาสตร์ คือ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่ง อ้างอิงจากผลการศึกษาของโครงการบูรณาการสถิติทางการเพื่อสนับสนุน แผนพัฒนาสถิติทางการ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเด็นโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช .) 3 อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาดังกล่าว พบว่า ในสาขายุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (TSIC) ที่สอดคล้องกับกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมการผลิต ดังนั้น บทความนี้จึงเน้นศึกษาใน 3 สาขายุทธศาสตร์ ซึ่งมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงกัน 1 ที่มา : ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ . ศ . 2564-2569 โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2 ที่มาข้อมูลและรูปภาพ : ความหมายของ BCG Model โดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช .) 3 ที่มา : รายงานฉบับสมบูรณ์ ( งานงวดที่ 3) เสนอต่อสํานักงานสถิติแห่งชาติ โดยสํานักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช .)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==