การติดตามเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวผ่านข้อมูลอุตสาหกรรมไทย

The Business and Industrial Census: An Analysis Series 3 28.2 29.4 29.2 31.9 31.7 33.9 0 10 20 30 40 สัดส่วนสถานประกอบการ BCG สัดส่วนคนทํางาน BCG 2555 2560 2565 17.6 17.4 15.4 1.5 1.5 3.1 10.0 8.7 11.7 0 20 40 60 80 100 พลังงานทดแทน วัสดุและเคมีชีวภาพ สุขภาพและการแพทย์ เกษตรและอาหาร 2555 สถานการณ์ BCG สถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ ที่มีความเชื่อมโยงกับสาขายุทธศาสตร์ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ มีจํานวนเกือบ 1 ใน 3 ของสถาน ประกอบการการผลิตทั้งสิ้น ซึ่ง สัดส่วนของสถานประกอบการ BCG 4 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาตลอดระยะเวลา 10 ปี โดยในปี พ . ศ . 2555 มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 28.2 ปี พ . ศ . 2560 มีประมาณร้อยละ 29.2 และปี พ . ศ . 2565 มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 31.7 สอดคล้องกันกับ สัดส่วนคนทํางานในสถานประกอบการ BCG ที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเพิ่มจากปี พ . ศ . 2555 ที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 29.4 ของคนทํางานใน สถานประกอบการทั้งสิ้น เป็นร้อยละ 33.9 ในปี พ . ศ . 2565 ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความสําคัญ ที่เพิ่มมากขึ้นของเศรษฐกิจ BCG ที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย ( ภาพที่ 1) ภาพที่ 1: สัดส่วนสถานประกอบการและคนทํางานในสถานประกอบการ BCG ต่อสถานประกอบการการผลิตทั้งสิ้น 4 สถานประกอบการ BCG หมายถึง สถานประกอบการการผลิตที่เชื่อมโยงกับสาขายุทธศาสตร์ BCG Model อ้างอิงจากผลการศึกษาของ สวทช . และหากพิจารณามูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการ BCG พบว่า ในปี พ . ศ . 2555 สถานประกอบการ BCG มีการ สร้างมูลค่าเพิ่มต่อสถานประกอบการการผลิตทั้งหมด ประมาณร้อยละ 29.1 โดยแบ่งเป็นมูลค่าเพิ่มจากสถาน ประกอบการที่เชื่อมโยงกับสาขายุทธศาสตร์เกษตรและ อาหาร ร้อยละ 17.6 สาขาสุขภาพและการแพทย์ ร้อยละ 1.5 และสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ ร้อยละ 10.0 อย่างไรก็ตามพบว่า ในปี พ . ศ . 2560 สัดส่วนมูลค่าเพิ่ม สถานประกอบการ BCG มีการลดลงเล็กน้อย คือ มีมูลค่าเพิ่มประมาณร้อยละ 27.6 ของมูลค่าเพิ่มสถาน ประกอบการการผลิตทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจาก การลดลงของสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ สําหรับปี พ . ศ . 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่การขับเคลื่อน การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG เป็นวาระแห่งชาติ พบว่า สัดส่วนมูลค่าเพิ่มสถานประกอบการ BCG มีการเพิ่มขึ้น อย่างเห็นได้ชัด โดยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30.2 ซึ่งมาจาก การเพิ่มขึ้นในสัดส่วนสาขาสุขภาพและการแพทย์ และ สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ เป็นสําคัญ ( ภาพที่ 2) ภาพที่ 2: สัดส่วนมูลค่าเพิ่มสถานประกอบการ BCG ต่อมูลค่าเพิ่มภาคการผลิตทั้งสิ้น 2560 2565 ร้อยละ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==