การติดตามเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวผ่านข้อมูลอุตสาหกรรมไทย
The Business and Industrial Census: An Analysis Series 4 © GeoNames, Microsoft, TomTom Powered by Bing 0 50 100 มูลค่าเพิ่มสถานประกอบการ BCG ต่อภาคการผลิตทั้งสิ้น ( ร้อยละ ) หากวิเคราะห์สถานการณ์ในเชิงพื้นที่ ตามภาพที่ 3 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้มข้นของเศรษฐกิจ BCG ที่วัดด้วยมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการ BCG ต่อมูลค่าเพิ่มสถานประกอบการการผลิตทั้งหมด รายจังหวัด ในปี พ . ศ .2565 จะสังเกตได้ว่า จังหวัดที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ BCG ในสัดส่วนที่สูง เป็นกลุ่ม จังหวัดในภาคเหนือตอนล่าง เช่น จังหวัดกําแพงเพชร นครสวรรค์และอุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน เช่น จังหวัดบึงกาฬ เลย และหนองคาย ภาคใต้ เช่น จังหวัดกระบี่ ระนอง และตรัง เป็นต้น ซึ่งจังหวัด เหล่านี้ โดยส่วนใหญ่ไม่ใช่จังหวัดที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้ภาคการผลิตไทยในสัดส่วนที่สูง อย่างไรก็ตามจะเห็นว่า เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีรากฐานการผลิตที่สําคัญเชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 สาขายุทธศาสตร์ของ BCG ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งการผลิตที่สําคัญของประเทศได้ในอนาคต สาขาเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมการผลิตที่เชื่อมโยงกับการเกษตรและอาหาร เป็นภาคการผลิตที่สําคัญสําหรับประเทศ ไทย สะท้อนจากการที่มีจํานวนสถานประกอบการมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตอื่น ๆ จากรายงาน สํามะโนอุตสาหกรรม 5 พบว่า สถานประกอบการการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารมีกว่าร้อยละ 26.4 ของสถาน ประกอบการการผลิตทั้งสิ้น และยังสร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่า 8 แสนล้านบาท อีกทั้งยังเป็นภาคการผลิต ที่ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันจากการที่มีทรัพยากรด้านการเกษตร ต่อเนื่องไปยัง ความสมบูรณ์ทางอาหาร ซึ่งทําให้สาขายุทธศาสตร์เกษตรและอาหารจะเป็นฐานการพัฒนาที่สําคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ภาพที่ 3: แผนที่แสดงมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการ BCG ต่อมูลค่าเพิ่มสถานประกอบการการผลิตทั้งสิ้น 5 รายงานสํามะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ . ศ . 2565: อุตสาหกรรมการผลิต ฉบับทั่วราชอาณาจักร โดยสํานักงานสถิติแห่งชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==