การติดตามเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวผ่านข้อมูลอุตสาหกรรมไทย

The Business and Industrial Census: An Analysis Series 5 © GeoNames, Microsoft, TomTom Powered by Bing 0 50 100 มูลค่าเพิ่มสาขาเกษตรและอาหาร ต่อภาคการผลิตทั้งสิ้น ( ร้อยละ ) 91.6 8.4 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร การผลิตเครื่องดื่ม หากพิจารณาถึงภาคการผลิตที่เชื่อมโยงกับสาขาเกษตรและอาหารในมุมมองเชิงพื้นที่ ตามภาพที่ 4 โดยแสดงมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการการผลิตสาขาเกษตรและอาหารต่อมูลค่าเพิ่มของ สถานประกอบการการผลิตทั้งสิ้น เห็นได้ว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มด้านเกษตรและอาหารที่สูง ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก โดยหลายจังหวัดมีสัดส่วน ที่สูงกว่าร้อยละ 80 เช่น จังหวัดอํานาจเจริญ ระนอง กําแพงเพชร อุทัยธานี ชุมพร เพชรบูรณ์ และปัตตานี เป็นต้น และหากวิเคราะห์สัดส่วนมูลค่าเพิ่มในหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่า ร้อยละ 91.6 เป็นมูลค่าเพิ่มที่ได้ จากการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร และร้อยละ 8.4 เป็นมูลค่าเพิ่มที่ได้จากการผลิตเครื่องดื่ม ( ภาพที่ 5) อย่างไรก็ตาม แต่ละจังหวัดจะมีกิจกรรมการผลิตที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับทรัพยากรทางเกษตรและอาหาร ของพื้นที่นั้น ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดอํานาจเจริญมีการผลิตนํ้าตาลทรายขาวและนํ้าตาลทรายบริสุทธิ์ เป็นหลัก จังหวัดระนองเน้นการผลิตผลิตภัณฑ์จากปลาและสัตว์นํ้า และการผลิตนํ้ามันปาล์ม ส่วนจังหวัด กําแพงเพชร เนื่องจากมีสินค้าทางการเกษตรอย่างข้าว มันสําปะหลังและอ้อยปริมาณมาก จึงมีมูลค่าเพิ่ม จากอุตสาหกรรมการสีข้าว การผลิตสตาร์ชจากมันสําปะหลัง การผลิตผงชูรส และการผลิตนํ้าตาลทราย เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ในการพัฒนาสาขายุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านเกษตรและอาหารอาจจะต้อง คํานึงถึงทรัพยากรที่แต่ละพื้นที่มีเพื่อต่อยอดให้เหมาะสม ภาพที่ 4: แผนที่แสดงมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาเกษตรและอาหาร ต่อมูลค่าเพิ่มสถานประกอบการการผลิตทั้งสิ้น ภาพที่ 5: สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มในหมวดย่อยอุตสาหกรรม ที่เชื่อมโยงกับสาขาเกษตรและอาหาร

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==