Children Youth 2021
สถานการณ์เด็กและเยาวชน สถานการณ์เด็กและเยาวชน 24 25 โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) โดยเน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียน เกี่ยวกับการใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน ส� ำรวจนักเรียนอายุ 15 ปี จากทั่วโลกในทุกๆ รอบสามปี ได้เน้นการประเมินในสามด้านหลักคือ การอ่าน คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ แต่ละครั้งเน้นด้านหนึ่งหมุนเวียนไปตามล� ำดับ PISA 2018 มีทั้งหมด 79 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ เป็นปีที่เน้นด้านการอ่าน โดยประเมินความฉลาดรู้ ด้านการอ่าน (Reading literacy) ที่นิยามไว้ว่า ความสามารถที่จะท� ำความเข้าใจกับสิ่งที่ได้อ่าน สามารถน� ำไป ใช้ประเมิน สะท้อนออกมาเป็นความคิดเห็นของตนเอง และมีความรักและผูกพันกับการอ่าน เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายพัฒนาความรู้และศักยภาพ และการมีส่วนร่วมในสังคม มีสมรรถนะในการวิเคราะห์ การให้เหตุผล และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถระบุสาระหลัก ตีความ ประเมิน นอกจากนี้ ยังมีสมรรถนะ การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มา : ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) การประเมิน PISA หมายเหตุ “มาตรา 54 รัฐต้องดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน จนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อย กว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา ให้มีการศึกษาภาคบังคับจ� ำนวน 9 ปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่ 16 ยกเว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ การจัดการ ศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้อง จัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้ จ่าย รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 วางเป้าหมาย 2 ด้าน คือ เป้าหมายด้านผู้เรียน โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มี คุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3Rs ได้แก่ การอ่านออก (Reading) การเขียนได้ (Writing) และการคิดเลขเป็น (Arithmetics) 8Cs ได้แก่ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความ เข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross – cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การ ท� ำงานเป็นทีมและภาวะผู้น� ำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media Literacy) ทักษะด้าน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพและ ทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) เป้าหมายของการจัดการศึกษา มี 5 ประการ 1. ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง (Access) 2. ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างเท่าเทียม (Equity) 3. ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถเต็มตามศักยภาพ (Quality) 4. ระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มค่าและบรรลุเป้าหมาย (Efficiency) 5. ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและบริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) ที่มา : แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ส� ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==