ครัวเรือนฐานราก 2562

หน้า l 10 แนวคิด�และทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายรายได้ การกระจายรายได้ (Income Distribution) หมายถึง การพิจารณาลักษณะ การกระจายตัวของประชากรในระดับชั้นต่างๆของรายได้ ซึ่งมีเกณฑ์การแบ่งการกระจายรายได้ 2 ประเภท คือ 1. การกระจายรายได้ตามปัจจัยการผลิตหรือหน้าที่ในการผลิต (Functional or factor share distribution income) หมายถึง การกระจายรายได้ไปยังเจ้าของปัจจัยการผลิต ได้แก่ เจ้าของปัจจัยการผลิตประเภทที่ดิน แรงงาน ทุน และการประกอบการ รายได้จะถูกจัดสรร ไปยังเจ้าของปัจจัยการผลิตประเภทต่าง ๆ มากน้อยแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่รายได้จะตกอยู่ กับเจ้าของปัจจัยการผลิตประเภททุน แต่ตามความหมายนี้ไม่นิยมนำ ามาใช้เนื่องจากไม่สามารถชี้ ให้เห็นเด่นชัดถึงความเหลื่อมลำ้ าของการกระจายรายได้ 2. การกระจายรายได้ตามชนชั้นของรายได้หรือตามขนาดของรายได้ (Personal or size distribution income) หมายถึง การกระจายรายได้ระหว่างบุคคลหรือครัวเรือนต่าง ๆ โดยการแบ่งตามชั้นของรายได้ (เรียงลำ าดับตามขนาดของรายได้จากกลุ่มที่มีรายได้ตำ่ าสุดไปยัง กลุ่มที่มีรายได้สูงสุด) โดยไม่คำ านึงว่าบุคคลหรือครัวเรือนเหล่านั้นเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ประเภทใด หนี้สินของครัวเรือน หมายถึง เงินกู้ยืมที่ค้างชำ าระทั้งจากสถาบันการเงินและบุคคลอื่นนอกครัวเรือน รวม หนี้สินที่เกิดจากการเช่าซื้อ การซื้อสินค้าเงินผ่อน การซื้อเชื่อสินค้าจากร้านค้า การจำ านำ า การจำ านอง และแชร์ที่เปียแล้วด้วย หนี้ในระบบ หมายถึง หนี้สินที่กู้ยืมจากธนาคาร สถาบันการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสวัสดิการ ของสำ านักงาน หรือดำ าเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น กองทุนหมู่บ้าน ชุมชนเมือง โดยมีอัตรา ดอกเบี้ยไม่เกินที่กฎหมายกำ าหนด หนี้นอกระบบ หมายถึง หนี้สินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นนอกครัวเรือน เช่น ญาติ เพื่อนบ้าน นายทุนเงินกู้ พ่อค้าคนกลาง เป็นต้น โดยมีอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ตกลงกัน ซึ่งอาจจะเกินหรือไม่เกินอัตราที่ กฎหมายกำ าหนดก็ได้ ทั้งนี้ หมายรวมถึงแชร์ที่เปียแล้วด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==