ครัวเรือนฐานราก 2562

หน้า l 36 ความสัมพันธ์ของค่าใช้จ่ายกับรายได้�และหนี้สินต่อรายได้ เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนระหว่างค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นกับรายได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นสัดส่วนที่แสดง ให้เห็นถึงความเพียงพอของรายได้เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่าย ในที่นี้คำ านวณออกมาในรูป ร้อยละ หากสัดส่วนนี้มีค่าต่ำ ากว่า 100 แสดงว่า กลุ่มครัวเรือนนั้นมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ หรือ รายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย หากสัดส่วนนี้มีค่าเท่ากับ 100 แสดงว่า กลุ่มครัวเรือนนั้นหารายได้ มาได้พอดีกับค่าใช้จ่าย และหากสัดส่วนนี้มีค่ามากกว่า 100 แสดงว่า มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย : พบว่า กลุ่มครัวเรือนฐานราก เป็นครัวเรือนกลุ่มเดียวที่มี รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 116.8) ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาถึงจำ านวนครัวเรือน ที่มีปัญหาทางการเงิน (ในที่นี้ หมายถึง ครัวเรือนมีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย) พบว่า กว่า ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 58.5) ของกลุ่มครัวเรือนฐานราก มีปัญหาทางการเงิน ซึ่งมากกว่าครัวเรือน กลุ่มอื่น ๆ และมากกว่าภาพรวมของครัวเรือนทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงมูลค่าหนี้สิน (ของครัวเรือนทั้งสิ้นทั้งครัวเรือนที่มีหนี้ และไม่มีหนี้) ต่อรายได้ทั้งสิ้นที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการชำ าระหนี้ของครัวเรือน โดยหากมีสัดส่วนที่สูงแสดงถึงความสามารถในการชำ าระหนี้ในระดับต่ำ า และในทางกลับกันหาก มีสัดส่วนที่ต่ ำ าจะแสดงถึงความสามารถในการชำ าระหนี้สูง : พบว่า กลุ่มครัวเรือนฐานราก มีภาระหนี้สินคิดเป็น 6.9 เท่าของรายได้ทั้งสิ้นของครัวเรือน ซึ่งสูงกว่าภาพรวมทั่วประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==