ครัวเรือนฐานราก 2562

หน้า l 41 ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ส่วนมากเป็นการ ขับเคลื่อนในภาคการผลิต (อุตสาหกรรมการส่งออก) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศในระดับ มหภาค แต่อย่างไรก็ตามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรายังคงพึ่งพาเศรษฐกิจจากภาคครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นการทำ าเกษตร ประมง และเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มครัวเรือนหลักที่ขับเคลื่อน กลุ่มเศรษฐกิจดังกล่าว คือ กลุ่มควินไทล์ที่ 1-3 และหากพิจารณาสามกลุ่มครัวเรือนนี้ กลุ่มครัวเรือนฐานราก (QU1) ย่อมเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางและอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง ของระบบเศรษฐกิจมากที่สุด ดังนั้นการศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่าง ต่อเนื่องของครัวเรือนฐานราก จึงเป็นสิ่งที่สำ าคัญและจำ าเป็น เพื่อนำ าไปสู่การกำ าหนดนโยบาย การพัฒนาสำ าหรับกลุ่มครัวเรือนฐานรากได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้กลุ่มครัวเรือน ฐานรากมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถเป็นกำ าลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่าง มีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลงของครัวเรือนฐานรากในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ในปี 2562 ครัวเรือนทั่วประเทศมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (26,018 บาท) สูงกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน (20,742) และเมื่อพิจารณาการกระจายรายได้ของครัวเรือน โดยทำ าการเปรียบเทียบรายได้เฉลี่ยต่อเดือนในกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้มากที่สุด (ครัวเรือนใน ควินไทล์ที่ 5: QU5) กับกลุ่มครัวเรือนฐานราก จะพบอีกว่า ในปี 2562 รายได้ของครัวเรือน ในควินไทล์ที่ 5 (55,371 บาท) มากกว่ากลุ่มครัวเรือนฐานราก (10,226 บาท) อยู่ 5 เท่า ซึ่ง ลดลงจาก 8 เท่าในปี 2552 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการที่รายได้ของครัวเรือนในควินไทล์ที่ 5 เติบโตในช่วงปี 2552 – 2562 เฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.9 ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าการเติบโตของรายได้ ของกลุ่มครัวเรือนฐานราก ซึ่งเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4.7 ต่อปี นอกจากนั้น หากพิจารณาถึง สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคของการกระจายรายได้ จะพบเช่นเดียวกันว่า การกระจายรายได้ ของครัวเรือนทั่วประเทศ เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ฐานรากและความเหลื่อมลำ้ าในมิติต่าง ๆ สำ านักงานสถิติแห่งชาติได้นำ าข้อมูลโครงการสำ ารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2552-2562 มาศึกษาวิเคราะห์ในมิติด้านรายได้ ค่าใช้จ่าย หนี้สิน การเข้าถึงสวัสดิการและ ความช่วยเหลือจากภาครัฐ ตลอดจนสภาวะความเป็นอยู่ในเชิงพื้นที่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ... มองภาพรวมความเหลื่อมล้ำ�ทางด้านรายได้�:�แม้ความเหลื่อมล้ำ� ทางด้านรายได้ของครัวเรือนจะลดลง�แต่ครัวเรือนฐานรากยังเป็นครัวเรือน กลุ่มเดียวที่มีภาระค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ...

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==