ครัวเรือนฐานราก 2562
หน้า l 57 หากพิจารณาในระดับจังหวัด เพื่อพิจารณาว่าจังหวัดใดที่มีกลุ่มครัวเรือนฐานราก มากที่สุดและน้อยที่สุดใน 10 จังหวัดแรก พบว่า ในปี 2562 จังหวัดที่มีสัดส่วนกลุ่มครัวเรือน ฐานราก มากที่สุด 10 จังหวัดแรก (จากมากไปน้อย) ได้แก่ นราธิวาส แม่ฮ่องสอน ศรีสะเกษ ปัตตานี บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ หนองบัวลำ าภู นครพนม มุกดาหาร และตาก ตามลำ าดับ ซึ่งเมื่อ เปรียบเทียบกับปี 2552 เป็นที่น่าสังเกตว่า 7 ใน 10 จังหวัด (นราธิวาส แม่ฮ่องสอน ศรีสะเกษ ปัตตานี บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ และนครพนม) ยังคงเป็นจังหวัดเดิมที่ติดหนึ่งในสิบอันดับที่มี ครัวเรือนฐานรากในปริมาณมาก ในทางตรงกันข้ามจังหวัดที่มีสัดส่วนกลุ่มครัวเรือนฐานราก น้อยที่สุด 10 จังหวัดแรก (จากน้อยไปมาก) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ภูเก็ต นครปฐม ชลบุรี สมุทรสาคร ระยอง และฉะเชิงเทรา ตามลำ าดับ ซึ่ง 8 ใน 10 จังหวัด (ปทุมธานี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต นนทบุรี สมุทรสาคร ชลบุรี) ยังคงเป็นจังหวัดเดิมที่ติดหนึ่งในสิบอันดับที่มีครัวเรือนฐานรากในปริมาณน้อย ซึ่งสะท้อนให้ เห็นว่า 10 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในจังหวัดเหล่านี้ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ... ระดับจังหวัด�:�จังหวัดกรุงเทพมหานครมีกลุ่มครัวเรือนฐานราก น้อยที่สุด�ขณะที่จังหวัดนราธิวาสมีกลุ่มครัวเรือนฐานรากมากที่สุด ... อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปี 2562 จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ติดในกลุ่มของ 10 จังหวัด ที่มีครัวเรือนฐานรากน้อยสุด โดยระยอง และฉะเชิงเทรา เพิ่ม มาจากปีก่อนหน้า ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเป็นพื้นที่นำ าร่องเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม ของประเทศ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==