ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 114 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 ด้านลักษณะของคนในครัวเรือน พบว่า 1. ภาคกลางมีความเหลื่อมล้ำ าในมิติจำ านวนสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นเด็ก สูงที่สุด ที่ 6.20 เท่า ขณะที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหลื่อมล้ำ าต่ำ าที่สุด ประมาณ 3.90 เท่า 2. ภาคใต้แทบไม่มีความเหลื่อมล้ำ าในมิติอัตราการพึ่งพิง (0.001 เท่า) ขณะที่ภาคกลาง มีความเหลื่อมล้ำ าสูงที่สุด ที่ 1.73 เท่า 3. ภาคใต้มีความเหลื่อมล้ำ าในมิติความหนาแน่นของจำ านวนสมาชิกต่อห้องนอนสูงที่สุด ที่ 2.17 เท่า ขณะที่ภาคอื่น ๆ มีความเหลื่อมล้ำ า ประมาณ 1.7 เท่า 4. ภาคกลางมีความเหลื่อมล้ำ าในมิติจำ านวนสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นผู้สูงอายุสูงที่สุด ที่ 2.02 เท่า ขณะที่ภาคใต้มีความเหลื่อมล้ำ าต่ำ าที่สุด ที่ 1.23 เท่า ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน พบว่า 1. ภาคเหนือมีความเหลื่อมล้ำ าในมิติสัดส่วนครัวเรือนที่ไม่มีการออม สูงที่สุด ที่ 7.40 เท่า ซึ่งสูงกว่า กรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัด และภาคใต้ประมาณ 1.5 เท่า และสูงกว่าภาคกลางและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกว่า 2 เท่า 2. กรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัด มีความเหลื่อมล้ำ าในมิติสัดส่วนครัวเรือนที่มี หนี้นอกระบบสูงที่สุด ที่ 7.45 เท่า ขณะที่ภาคอื่น ๆ มีความเหลื่อมล้ำ า ประมาณ 3 เท่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน (ตามหมวด) พบว่า 1. ภาคใต้มีความเหลื่อมล้ำ าในมิติค่าใช้จ่ายหมวดเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ต่ำ าที่สุด ที่ 0.12 เท่า 2. กรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัด มีความเหลื่อมล้ำ าในมิติค่าใช้จ่ายหมวดยาสูบ หมาก ยานัตถุ์ และอื่นๆ สูงที่สุด ที่ 1.54 เท่า และเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มครัวเรือนฐานราก และ กลุ่มควินไทล์ที่ 5 มีค่าใช้จ่ายในหมวดยาสูบ หมาก ยานัตถุ์ และอื่น ๆ และหมวดเครื่องดื่มมีีแอลกอฮอล์ ในแต่ละภาคแตกต่างกันอย่างชัดเจน การศึกษาและการทำ างาน และลักษณะครัวเรือนอื่น ๆ พบว่า 1. กรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัด มีความเหลื่อมล้ำ าในมิติสัดส่วนของครัวเรือน ที่หัวหน้าครัวเรือนจบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำ ากว่า สูงที่สุด ที่ 8.10 เท่า ขณะที่ภาคอื่น ๆ มีความเหลื่อมล้ำ า ประมาณ 3 เท่า 2. ภาคกลางมีความเหลื่อมล้ำ าในมิติสัดส่วนของครัวเรือนที่ดื่มน้ำ าไม่สะอาด สูงสุดที่ 11.75 เท่า ขณะที่ภาคอื่น ๆ มีความเหลื่อมล้ำ า ประมาณ 6 เท่า

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==