ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 2 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 และแม้ว่าสถานการณ์ความความยากจนจะบรรเทาลงอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อพิจารณา จากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคของรายได้ของประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2553 - 2563) พบว่า อยู่ระหว่าง 0.34 ถึง 0.4 ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับประเทศในกลุ่ม ASEAN อย่างอินโดนีเซีย 3/ แต่เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วยังพบว่าประเทศเหล่านั้นมีค่าดัชนีอยู่ เพียงระหว่าง 0.25 ถึง 0.30 เท่านั้น 4/ เมื่อพิจารณาส่วนแบ่งรายได้ของกลุ่มครัวเรือนในประเทศ (แผนภูมิ 2) พบว่า ตลอด 12 ปี (พ.ศ. 2552 - 2564) ครัวเรือนฐานรากหรือครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่สุดร้อยละ 20 มีส่วนแบ่งรายได้ที่แตกต่างจากครัวเรือนที่มีรายได้มากที่สุดร้อยละ 20 อย่างมาก ซึ่งสะท้อน ปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ยังคงมีอยู่ และจัดอยู่ในระดับที่สูง กล่าวคือ ครัวเรือนที่มี รายได้น้อยที่สุดร้อยละ 20 ถือครองรายได้เพียงร้อยละ 6.1 ในปี 2552 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น ร้อยละ 8.0 ในปี 2564 ในขณะที่ครัวเรือนที่มีรายได้มากที่สุดร้อยละ 20 กลับมีการถือครอง รายได้สูงกว่าครัวเรือนกลุ่มอื่น ๆ โดยแม้จะมีการถือครองรายได้ที่ลดลงจากร้อยละ 48.7 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 42.2 ในปี 2564 ก็ตาม แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า มีการถือครองรายได้ เกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งประเทศ แผนภูมิ�1��สัดส่วนคนจน�จำ�นวนคนจน�และเส้นความยากจน�พ.ศ.�2553�-�2563 2,500 2,000 1,500 1,000 0 500 2,285 2,572 2,647 2,644 2,667 2,686 2,710 2,763 2,762 2,492 2,415 16.4 7.2 8.6 7.9 9.9 6.2 4.3 4.8 6.7 6.8 10.5 10.9 12.6 13.2 10.8 8.8 8.4 7.3 7.1 4.8 5.8 5.3 2563 2553 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2554 เส้นความยากจน (บาท/คน/เดือน) สัดส่วนคนจน (ร้อยละ) จำ านวนคนจน (ล้านคน) 20.0 15.0 10.0 5.0 0.0 3/ Gini index – Thailand, World Bank, Poverty and Inequality Platform, from https://data.worldbank.org/indicator/SI.POV.GINI? contextual=min&locations=TH. 4/ กอบศักดิ์ ภูตระกูล. 2556. บทความเรื่อง คุณภาพของการเจริญเติบโตจากมิติของการกระจายรายได้ : ปัญหาและทางออก.ธนาคารแห่งประเทศไทย. จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/SymposiumDocument/Paper4_2556.pdf ที่มา : สำ านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==