ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 10 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 3) ลูกจ้าง แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ก) ผู้จัดการ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ เสมียน พนักงานขายและผู้ให้บริการ ข) ผู้ปฏิบัติงานในการผลิต ก่อสร้าง และเหมืองแร่ คนงานเกษตร ป่าไม้และประมง 4) ผู้ไม่ได้ปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจ หมายถึง บุคคลต่อไปนี้ ก) แม่บ้านหรือผู้ที่ทำ างานบ้าน ข) นักเรียน ค) ผู้เกษียณอายุ และคนชรา ง) ผู้ไม่สามารถทำ างานได้ เนื่องจากพิการทางร่างกายหรือจิตใจ หรือเนื่องจากเจ็บป่วย เรื้อรัง คนขอทาน เป็นต้น กลุ่มควินไทล์ของครัวเรือนเรียงลำ าดับตามรายได้ประจำ าต่อเดือน หมายถึง การจัดจำ าแนกครัวเรือนออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน โดยจัดเรียง ครัวเรือนตามรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนจากน้อยไปหามาก โดยกลุ่มครัวเรือน 20% แรก ของครัวเรือนทั้งสิ้น ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ าที่สุด เรียกว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 1 กลุ่มครัวเรือน 20% ที่มีรายได้ในลำ าดับถัดไป เรียกว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 2 ครัวเรือนใน ควินไทล์ที่ 3 ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 4 ตามลำ าดับ จนไปถึง กลุ่มครัวเรือน 20% สุดท้ายของ ครัวเรือนทั้งสิ้น ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงที่สุด เรียกว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 5 สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini Coefພcient) ของรายได้ หมายถึง ค่าที่บ่งชี้ความเหลื่อมล้ำ าของการกระจายรายได้ครัวเรือน ซึ่งกำ าหนดให้มีค่า อยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 โดยถ้าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคเป็น 0 แสดงว่า ไม่มีความแตกต่างของ รายได้ครัวเรือนเลย กล่าวคือ ทุกครัวเรือนมีรายได้เท่ากัน หากสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค มีค่าสูงขึ้น การกระจายรายได้ที่ก็จะเหลื่อมล้ำ ากันมากขึ้น และถ้าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค มีค่าเท่ากับ 1 หมายความว่า มีความเหลื่อมล้ำ าอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ มีคนที่มีรายได้เพียง คนเดียว ส่วนคนที่เหลือไม่มีรายได้เลย สูตรการคำ านวณสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคของกลุ่มควินไทล์ 5 กลุ่ม คือ สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค ของกลุ่มควินไทล์ 5 กลุ่ม = 1 5 ( 4 s 5 + 2 s 4 - 2 s 2 - 4 s 1 ) s i โดยที่ คือ ส่วนแบ่งรายได้ของกลุ่มควินไทล์ที่ i และ s 1 < s 2 < s 3 < s 4 < s 5

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==