ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 12 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 2. แนวคิดการวัดความยากจนเชิงสัมพัทธ์หรือเชิงเปรียบเทียบ (Relative Poverty Concept) เป็นการพิจารณาความยากจนโดยการเปรียบเทียบระดับรายได้ต่างๆ ของประชากร แต่ละกลุ่ม ซึ่งสามารถแสดงถึงความเหลื่อมลำ้ าการกระจายรายได้ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การพิจารณา สภาวะการกระจายรายได้นั่นเอง โดยกำ าหนดเป็นร้อยละ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ร้อยละ 20 ของครัวเรือน ที่อยู่ช่วงระดับรายได้ตำ่ าสุด เป็นครัวเรือนยากจนที่สุด หรือในที่นี้เรียกว่า ครัวเรือนฐานราก กลุ่มที่ 2 ร้อยละ 20 ของครัวเรือนที่อยู่ในช่วงรายได้ที่สูงขึ้นมา ถือว่ายากจนน้อยกว่า กลุ่มที่ 3 ร้อยละ 20 ของครัวเรือนที่อยู่ในช่วงรายได้ที่สูงขึ้นมา ถือว่าฐานะปานกลาง กลุ่มที่ 4 ร้อยละ 20 ของ ครัวเรือนที่อยู่ในช่วงรายได้ที่สูงขึ้นมา ถือว่าฐานะดี และกลุ่มที่ 5 ร้อยละ 20 ของครัวเรือนที่อยู่ ในช่วงรายได้สูงสุด ถือว่า ฐานะดีที่สุด แนวคิดเกี่ยวกับความยากจน แนวคิดการวัดความยากจนโดยทั่วไปมี 2 แนวคิด ดังนี้ 1. แนวคิดการวัดความยากจนเชิงสัมบูรณ์ (Absolute Poverty Concept) เป็นการคำ านวณความต้องการขั้นพื้นฐานในการดำ ารงชีพออกมาเป็นตัวเงิน ซึ่งกำ าหนดปริมาณเงิน หรือรายได้ขั้นตำ่ าที่มนุษย์สามารถดำ ารงชีวิตอยู่ได้ โดยใช้เส้นความยากจน (Poverty Line) เป็น เครื่องชี้วัดความยากจน เป็นเกณฑ์สะท้อนระดับค่าครองชีพขั้นตำ่ าที่สุดที่มนุษย์จะยังชีพอยู่ได้ หากบุคคลใดมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนตำ่ ากว่าเส้นความยากจน ถือว่าเป็นคนยากจน แนวคิดเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการกระจายรายได้ Kuznets (1955) ได้ตั้งสมมติฐานของความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายรายได้ และระดับของการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยตีความไว้ว่าในช่วงที่การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ระหว่าง รายได้ตำ่ าถึงรายได้ปานกลาง การกระจายรายได้จะมีความเหลื่อมลำ้ ามากขึ้น แต่เมื่อมาถึงช่วง การเติบโตระหว่างรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง ความเหลื่อมลำ้ าจะลดลง ทั้งนี้ การพัฒนา เศรษฐกิจในช่วงแรกจะเน้นการสะสมทุนเป็นหลัก ผู้มีรายได้สูงจะมีอัตราการออมสูง จึงมีการ สะสมทุนได้มากและรายได้ก็จะตกอยู่กับผู้ลงทุนเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ จึงทำ าให้การกระจายราย ได้มีความเหลื่อมลำ้ า แต่การพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงหลังจะเน้นทุนมนุษย์เป็นสำ าคัญ ผลิตภาพที่ เพิ่มขึ้นจากทุนมนุษย์จะมีการกระจายที่กว้างขวางกว่า จึงทำ าให้ความเหลื่อมลำ้ าลดลง จากสมมติฐานนี้สามารถอธิบายได้ (ดังภาพ 1)

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==