ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 13 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 ที่มา : “Economic Growth and Development,” by Van den Berg, 2001, New York: McGraw Hill Irwin International Book Company. การกระจายรายได้ การเติบโต Per capita GNP ทฤษฎีการบริโภคที่สัมพันธ์กับรายได้ สำ าหรับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับรายได้ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ประกอบด้วย สมมติฐานรายได้สมบูรณ์ (Absolute Income Hypothesis) สมมติฐานรายได้ ถาวร (Permanent Income Hypothesis) และสมมติฐานวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Income Hypothesis) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) สมมติฐานการบริโภคแบบรายได้สมบูรณ์ (Absolute Income Hypothesis) ทฤษฎีตามแนวคิดของ John Maynard Keynes พบว่า ปัจจัยสำ าคัญที่เป็นตัว กำ าหนดการใช้จ่ายของบุคคลในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง คือรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริงหรือรายได้สุทธิ ส่วนบุคคล (disposable personal income) ในเวลานั้น โดยการใช้จ่ายในการบริโภคจะมีความ สัมพันธ์กับรายได้สุทธิส่วนบุคคลโดยตรง กล่าวคือ เมื่อบุคคลมีระดับรายได้เพิ่มขึ้น บุคคลจะมี การใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่สัดส่วนการบริโภคที่เพิ่มขึ้นนั้นจะน้อยกว่าสัดส่วนของรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าระดับรายได้ตำ่ าลง บุคคลจะมีการใช้จ่ายในสัดส่วนที่มีต่อรายได้สูงขึ้น 2) ทฤษฎีการบริโภคตามสมมติฐานรายได้ถาวร (Permanent Income Hypothesis) ภาพ�1�ความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายรายได้และระดับของการพัฒนาเศรษฐกิจ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==