ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 14 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 ทฤษฎีตามแนวคิดของ Milton Friedman พบว่า ผู้บริโภคจะวางแผนการบริโภค โดยพิจารณาจากรายได้ตลอดชีวิตของตน (รายได้ปัจจุบันและรายได้ในอนาคต) โดยมีรากฐาน สำ าคัญ 4 ประการ คือ (1) รายได้ที่เกิดขึ้นจริงทั้งสิ้น ประกอบด้วยรายได้ 2 ส่วน คือ รายได้ถาวร และรายได้ ชั่วคราว (2) การบริโภคมี 2 ส่วน คือ การบริโภคถาวร และ การบริโภคชั่วคราว (3) การบริโภคถาวรกับรายได้ถาวรมีความสัมพันธ์กัน (4) ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคชั่วคราวกับรายได้ชั่วคราว นอกจากนี้ Friedman ศึกษาโดยใช้ข้อมูล time-series พบว่า ในระยะยาว รายได้ที่ เพิ่มขึ้นมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ถาวร ดังนั้นการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จึงขึ้นอยู่กับรายได้ถาวร และ สรุปว่า ในระยะยาวบุคคลจะมีการใช้จ่ายในสัดส่วนที่มีต่อรายได้คงที่ 3) สมมติฐานวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Income Hypothesis) ทฤษฎีตามแนวคิดของ Ando และ Modigliani พบว่า การใช้จ่ายในการบริโภคไม่ได้ ขึ้นอยู่กับรายได้ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับรายได้ที่คาดว่าจะได้รับตลอดชีวิต ผู้บริโภคจะ วางแผนใช้จ่ายบริโภค โดยดูจากรายได้ที่ได้รับตลอดชีวิตของตน ซึ่งแบบแผนรายได้ตลอดชีวิต ของบุคคลเป็นไปในลักษณะที่ในช่วงชีวิตของบุคคล ขณะที่อายุน้อย จะมีระดับรายได้อยู่ในระดับ ตำ่ า เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการทำ างานตำ่ า และจะมีรายได้สูงขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น จนสูงสุดใน ตอนกลางของชีวิต เนื่องจากมีประสิทธิภาพการทำ างานสูง และหลังจากนั้น รายได้จะค่อย ๆ ลดลง จนเกือบเท่าตอนต้นของชีวิต เพราะประสิทธิภาพการทำ างานเมื่ออายุมากจะตำ่ าลงอีกครั้ง ดังนั้นระยะตอนต้นของชีวิต ผู้บริโภคจะต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายในการบริโภคก่อน หลังจากนั้นใน ระยะกลางของชีวิต ผู้บริโภคจะออมมากขึ้นเพื่อนำ าเงินไปใช้หนี้ตอนต้นชีวิตและเก็บเงินไว้ใช้ตอน ปลายชีวิต พอช่วงปลายชีวิต รายได้จะลดลง แต่การบริโภคยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งในระยะนี้ผู้บริโภค จะเริ่มนำ าเงินออมออกมาใช้จ่าย ดังนั้น บุคคลที่มีรายได้ตำ่ าจะมีสัดส่วนของการบริโภคต่อรายได้ มากกว่าบุคคลที่มีรายได้สูง (ดังภาพ 2) ที่มา : “3 Important Theories of consumption (with diagram),” by Supriya Guru, สืบค้นจาก http://www.yourarticlelibrary.com /economics/consumption-function/3-important-theories-of-consumption-with-diagram/37756. ภาพ�2�รายได้ตลอดช่วงอายุของบุคคลและเส้นการใช้จ่ายในการบริโภค ไม่มีการออม รายได้ การใช้จ่ายในการบริโภค ไม่มีการออม มีการออม ช่วงอายุ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==