ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 16 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 นิตยา ปะอินทร์ (2562) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือน จนเปรียบเทียบกับครัวเรือนรวย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนจน อย่างมีนัยสำ าคัญทางสถิติที่ 0.05 ทางปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน อัตราส่วนการเป็นภาระ สถานะเศรษฐสังคมของครัวเรือน และภาค ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน และค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน สำ าหรับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนรวย มีเฉพาะปัจจัยด้านสังคมเท่านั้น ได้แก่ เพศของหัวหน้าครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน สถานะเศรษฐสังคมของครัวเรือน และภาค ฉวีวรรณ กาบขาว และ ธีรศักดิ์ ทรัพย์วโรบล (2561) ศึกษาปัจจัยกำ าหนดความเป็น ไปได้ในการก่อหนี้ภาคครัวเรือน พบว่า ตัวแปรทางด้านสถานภาพ รายได้ ความเป็นเจ้าของที่อยู่ อาศัย และการครอบครองรถยนต์มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ที่ครัวเรือนจะเป็นหนี้ในทาง บวกทุกปีที่ทำ าการศึกษาอย่างมีนัยสำ าคัญทางสถิติ และตัวแปรด้านอายุ ระดับการศึกษาและเขต ที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ที่ครัวเรือนจะเป็นหนี้ในทางลบของทุกปีที่ทำ าการ ศึกษาอย่างมีนัยสำ าคัญทางสถิติ ตัวแปรเพศและตัวแปรเงินช่วยเหลือยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ชัดเจน วรชิต รุ่งพรหมประทาน (2561) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนฐานะทาง เศรษฐกิจในประเทศไทย พบว่า ครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนฐานะค่อนข้างดี ซึ่งในเขตชนบทจะมี การปรับเปลี่ยนฐานะดีกว่าในเขตเมือง อีกทั้งการปรับเปลี่ยนฐานะทางด้านรายจ่ายมากกว่าด้าน รายได้ นอกจากนี้ ยังพบปัจจัยสำ าคัญที่จะช่วยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนฐานะทางรายได้ของ ครัวเรือนให้ดีขึ้น เช่น จำ านวนปีการศึกษาของสมาชิกในครัวเรือนผู้ที่มีงานทำ า การทำ างานนอกภาค การเกษตร จำ านวนที่ดินที่ทำ าการเกษตร ส่วนปัจจัยที่ทำ าให้รายได้ลดลง เช่น สัดส่วนผู้สูงอายุและ สัดส่วนเด็ก เป็นการชี้ให้เห็นว่าครัวเรือนที่มีภาวะการพึ่งพิงที่สูงจะทำ าให้ครัวเรือนมีรายได้ลดลง ดังนั้นหากเป็นครัวเรือนใหญ่ที่มีเด็กและผู้สูงอายุมากก็จะทำ าให้ครัวเรือนนั้นมีรายได้ที่ลดลงมาก องอาจ รุกขวัฒนกุล (2558) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของรายได้ ของ ประชาชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษของหนองคาย มุกดาหาร และแม่สอด พบว่า ปัจจัยที่มีผล ต่อการเปลี่ยนแปลงรายได้ ของประชาชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษของหนองคาย มุกดาหาร และแม่สอด คือ จำ านวนสมาชิกของครัวเรือน อายุ การศึกษา ประสบการณ์การทำ างานของสมาชิก และปีประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==