ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 38 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 ความสัมพันธ์ของค่าใช้จ่ายกับรายได้�และหนี้สินกับรายได้ สัดส่วนระหว่างค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อรายได้ทั้งสิ้น เป็นการพิจารณาสัดส่วนที่แสดงให้เห็น ถึงความเพียงพอของรายได้เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่าย ในที่นี้คำ านวณออกมาในรูปร้อยละ หากสัดส่วนที่คำ านวณได้เกิน 100% แสดงว่ามีค่าใช้จ่ายเกินรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอกับ ค่าใช้จ่าย หากสัดส่วนนี้มีค่าเท่ากับ 100% แสดงว่า กลุ่มครัวเรือนนั้นหารายได้มาได้พอดีกับ ค่าใช้จ่าย และหากต่ำ ากว่า 100% แสดงว่ามีรายได้เพียงพอใช้จ่าย จากสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้ งสิ้นต่อรายได้ทั้ งสิ้นของครัวเรือนกลุ่มต่าง ๆ พบว่า กลุ่มครัวเรือนฐานราก เป็นครัวเรือนกลุ่มเดียวที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 112.6) ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาถึงจำ านวนครัวเรือนที่มีปัญหาทางการเงิน (ในที่นี้ หมายถึง ครัวเรือน มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย) พบว่า กว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 53.9) ของกลุ่มครัวเรือนฐานราก มีปัญหาทางการเงิน ซึ่งมากกว่าครัวเรือนกลุ่มอื่น ๆ และมากกว่าภาพรวมของครัวเรือนทั่วประเทศ ทำ านองเดียวกันกับการพิจารณาความสัมพันธ์ของมูลค่าหนี้สินกับรายได้ทั้งสิ้นของ ครัวเรือน เป็นการพิจารณาว่าครัวเรือนมีความสามารถในการชำ าระหนี้ได้ในระดับใด กล่าวอีก นัยหนึ่งคือ มูลค่าหนี้สินที่ต้องชำ าระมีมากกว่ารายได้ที่ได้รับกี่เท่า โดยหากมูลค่าหนี้สินต่อรายได้ ทั้งสิ้น มีสัดส่วนที่สูง แสดงว่าครัวเรือนมีภาระมากในการหารายได้เพื่อมาชำ าระหนี้ ในทาง กลับกัน หากมีสัดส่วนที่ต่ำ า แสดงว่าครัวเรือนมีภาระน้อยในการหารายได้เพื่อมาชำ าระหนี้ พบว่า ครัวเรือนฐานรากมีภาระหนี้สินคิดเป็น 7.6 เท่าของรายได้ทั้งสิ้นของครัวเรือน ซึ่งสูงกว่า ภาพรวมทั่วประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==