ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 43 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในโลก ส่งผลกระทบโดยตรงในวงกว้างต่อเศรษฐกิจของโลก และ เศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งในแง่ของการปรับตัวและตั้งรับกับสถานการณ์ด้านสาธารณสุข ตลอดจนการขาดแคลน วัตถุดิบในระบบอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการผลิตในหลายอุตสาหกรรมของไทยที่ยังต้องพึ่งพาทรัพยากรจากต่างประเทศ จึงมีผลกระทบต่อเนื่องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่เศรษฐกิจของกลุ่มครัวเรือนต่าง ๆ ในประเทศที่เป็นกำ าลังสำ าคัญใน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มครัวเรือนฐานราก ที่มีความเปราะบางและอ่อนไหว ไปตามการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจมากที่สุด ดังนั้น การศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของครัวเรือนฐานราก จึงเป็นสิ่ง ที่สำ าคัญและจำ าเป็นต่อการนำ าไปใช้วางแผนและกำ าหนดนโยบายเฉพาะกลุ่มได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้กลุ่ม ครัวเรือนฐานรากมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นกำ าลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ฐานรากและความเหลื่อมลำ้ าในมิติต่าง ๆ สำ านักงานสถิติแห่งชาติ ได้นำ าข้อมูลโครงการสำ ารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2564 ซึ่งสะท้อนภาพของครัวเรือนทั้งหมด 22.6 ล้านครัวเรือน มาศึกษาวิเคราะห์ในมิติด้านรายได้ ค่าใช้จ่าย หนี้สิน การเข้าถึงสวัสดิการและความช่วยเหลือจาก ภาครัฐ รวมถึงสภาวะความเป็นอยู่ในเชิงพื้นที่ ตลอดจนนำ าข้อมูลโครงการสำ ารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของ ครัวเรือน พ.ศ. 2554 - 2564 มาศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ข้างต้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาด้วย ในการศึกษาครั้งนี้ทำ าการแบ่งครัวเรือนตามลำ าดับของรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนจากน้อยไปมาก ออกเป็น 5 กลุ่ม เท่า ๆ กัน โดยแต่ละกลุ่มจะมีจำ านวนครัวเรือนเป็นร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งวิธีการดังกล่าว นี้เรียกว่า การแบ่งกลุ่มควินไทล์ตามรายได้ประจำ าต่อคนต่อเดือน โดยกลุ่มครัวเรือน 20% แรกของครัวเรือนในระบบ เศรษฐกิจ เป็นกลุ่มที่มีรายได้ตำ่ าสุด เรียกว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 1 (QU1) หรือ ต่อไปนี้จะเรียกว่ากลุ่มครัวเรือน ฐานราก สำ าหรับกลุ่มครัวเรือน 20% ที่มีรายได้ในลำ าดับถัดไป เรียกว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 2 (QU2) ครัวเรือน ในควินไทล์ที่ 3 (QU3) ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 4 (QU4) ตามลำ าดับ จนไปถึง กลุ่มครัวเรือน 20% สุดท้าย ซึ่งเป็น กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงที่สุด เรียกว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 5 (QU5) ทั้งนี้ ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของ ครัวเรือนฐานรากในส่วนนี้ ได้ใช้ข้อมูลที่มีการถ่วงค่านำ้ าหนักจำ านวนครัวเรือนในการประมวลผล ...แม้ความเหลื่อมลำ้ าด้านรายได้จะลดลง� แต่กลุ่มครัวเรือนฐานรากยังเป็นครัวเรือน กลุ่มเดียวที่มีภาระค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้... จากการศึกษาพบว่า ในปี 2564 ครัวเรือนทั่วประเทศมีรายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือน (27,352 บาท) สูงกว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน (21,616) และเมื่อพิจารณาการกระจายรายได้ของครัวเรือน โดยทำ าการเปรียบเทียบรายได้ ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือนในกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้มากที่สุด (ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 5: QU5) กับกลุ่มครัวเรือนฐานราก จะพบอีกว่า ในปี 2564 รายได้ของครัวเรือนในควินไทล์ที่ 5 (57,461 บาท) มากกว่ากลุ่มครัวเรือนฐานราก (11,135 บาท) อยู่ 5 เท่า ซึ่งลดลงจาก 7 เท่าในปี 2554 ทั้งนี้ เนื่องมาจากการที่รายได้ของครัวเรือนในควินไทล์ที่ 5 เติบโตในช่วงปี 2554 – 2564 เฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.2 ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าการเติบโตของรายได้ของกลุ่มครัวเรือนฐานราก ซึ่งเติบโตเฉลี่ย ร้อยละ 3.8 ต่อปี นอกจากนั้น หากพิจารณาถึงสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคของการกระจายรายได้ จะพบ เช่นเดียวกันว่าการกระจายรายได้ของครัวเรือนทั่วประเทศ เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงของครัวเรือนฐานรากในประเทศไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==