ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 60 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 หากพิจารณาการกระจายตัวของครัวเรือนในระดับจังหวัด โดยพิจารณาว่า จังหวัดใดมีสัดส่วนครัวเรือนฐานรากมากที่สุดและน้อยที่สุดใน 10 จังหวัดแรก พบว่า ในปี 2564 จังหวัดที่มีสัดส่วนกลุ่มครัวเรือนฐานรากมากที่สุด 10 อันดับ (จากมากไปน้อย) ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี แม่ฮ่องสอน นครพนม ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ อุตรดิตถ์ พะเยา นครราชสีมา และอุบลราชธานี ตามลำ าดับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 เป็นที่น่าสังเกต ว่า 6 ใน 10 จังหวัด (นราธิวาส ปัตตานี แม่ฮ่องสอน นครพนม ศรีสะเกษ และกาฬสินธุ์) ยังคงเป็นจังหวัดเดิมที่ติดหนึ่งในสิบอันดับที่มีสัดส่วนครัวเรือนฐานรากมากที่สุด ในทาง ตรงกันข้าม จังหวัดที่มีสัดส่วนกลุ่มครัวเรือนฐานรากน้อยที่สุด 10 อันดับ (จากน้อยไป มาก) ได้แก่ นนทบุรี กรุงเทพมหานคร ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร และภูเก็ต ตามลำ าดับ ซึ่ง 7 ใน 10 จังหวัด (นนทบุรี กรุงเทพมหานคร ชลบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร และภูเก็ต) ยังคงเป็นจังหวัด เดิมที่ติดหนึ่งในสิบอันดับที่มีสัดส่วนครัวเรือนฐานรากน้อยที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า 10 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในจังหวัดเหล่านี้ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แม่ฮ่องสอน ยังเป็นจังหวัด ที่มีสัดส่วนครัวเรือนฐานรากมากเป็นอันดับต้น ๆ ขณะที่ อุตรดิตถ์ พะเยา นครราชสีมา และอุบลราชธานี เป็นจังหวัดหน้าใหม่ที่มีสัดส่วนครัวเรือนฐานรากมากขึ้นจนติด 10 อันดับจังหวัดที่มีครัวเรือนฐานรากมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจังหวัดที่มีสัดส่วน กลุ่มครัวเรือนฐานรากน้อยที่สุด 10 อันดับ เป็นที่น่าสังเกตว่า ภูเก็ตมีสัดส่วนครัวเรือน ฐานรากมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นผลจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในประเทศไทยที่ซบเซาลงไปเนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย . . . กา รกร ะ จายตั วของครั ว เ รื อนร ะดับจั งหวัด� : � ปี � 2564� จังหวัดนนทบุรีมีสัดส่วนของกลุ่มครัวเรือนฐานรากน้อยที่สุด� ในขณะที่� จังหวัดนราธิวาสมีกลุ่มครัวเรือนฐานรากมากที่สุด...

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==