ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 62 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 จากข้อมูลการติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ฐานรากชี้ให้เห็นว่า ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554 - 2564) กลุ่มครัวเรือนฐานรากยังคงเป็น กลุ่มเดียวที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ส่งผลให้มีอัตราการเติบโตของหนี้สูงกว่า การเติบโตของรายได้ ทั้งนี้จากการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในมิติต่าง ๆ ทำ าให้มีข้อสังเกตในเชิงนโยบาย ดังนี้ 1. ครัวเรือนฐานราก เป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีภาระค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ ที่ได้รับ โดยค่าใช้จ่ายเกือบร้อยละ 50 เป็นค่าใช้จ่ายหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มี แอลกอฮอล์ ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาครัฐได้ช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายส่วน นี้ ผ่านโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยเมื่อพิจารณาแล้วพบว่า ควรมีการกำ าหนด วงเงินแยกตามหมวดค่ าใช้ จ่ ายอย่ างชัดเจน โดยเฉพาะอย่ างยิ่งวงเงินใช้ จ่ าย เพื่อการบริโภค เพื่อให้สามารถมุ่งเน้นความช่วยเหลือไปที่ค่าใช้จ่ายด้านอาหารและ เครื่องดื่มได้โดยตรง นอกจากนี้ ร้านที่รับชำ าระด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ควรมีสินค้าที่ ครอบคลุมอาหารสด ผักและผลไม้ ด้วย อนึ่ง หากมีระบบที่สามารถเก็บข้อมูลได้ว่านำ า บัตรสวัสดิการฯ ไปใช้จ่ายกับสินค้าประเภทไหนบ้าง ก็จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้มีสิทธิ์บัตรสวัสดิการฯ ได้ เพื่อนำ ามาวางแผนและปรับปรุง นโยบายความช่วยเหลือให้ครอบคลุมและตรงจุดมากยิ่งขึ้น 2. ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554 - 2564) กลุ่มครัวเรือนฐานรากมีรายได้ จากเงินช่วยเหลือสงเคราะห์ในอัตราการเพิ่มที่สูง คิดเป็นร้อยละ 6.1 ซึ่งสูงกว่าอัตรา การเพิ่มเฉลี่ยของรายได้จากแหล่งอื่น ๆ และสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มาจาก ค่าจ้างและเงินเดือน (ร้อยละ 3.2) เกือบ 2 เท่า รวมถึงเมื่อเปรียบเทียบอัตราการ เพิ่มขึ้นของรายได้ที่มาจากค่าจ้างและเงินเดือนในสองทศวรรษ เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มครัวเรือนฐานรากมีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างและเงินเดือนในช่วงปี 2554 - 2564 (ร้อยละ 3.2) ซึ่งตำ่ ากว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างและเงินเดือน (ร้อยละ 5.7) ในช่วง ปี 2552 - 2562 จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า ภาครัฐมีนโยบายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ กลุ่มครัวเรือนฐานรากเพิ่มขึ้น ทำ าให้อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มาจากเงินช่วยเหลือ สูงกว่ารายได้จากแหล่งอื่น ๆ โดยการให้ความช่วยเหลือนี้ย่อมถูกจัดสรรให้ตาม สถานการณ์ที่ครัวเรือนฐานรากต้องการได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งถือเป็นนโยบายที่ช่วย พยุงเศรษฐกิจของครัวเรือนฐานรากที่ดี แต่เป็นเพียงความช่วยเหลือในระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ ภาครัฐควรมุ่งเน้นและผลักดันนโยบายที่กระตุ้นรายได้ของกลุ่มครัวเรือนฐานราก ในด้านอื่น ๆ ที่ไม่เพียงเฉพาะด้านรายได้จากเงินช่วยเหลือ ให้มากขึ้นด้วย เพราะจะ เป็นการช่วยลดการพึ่งพึงและเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวควบคู่ไปด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==