ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 67 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 คุณลักษณะครัวเรือนฐานรากของประเทศไทย ตาราง�11��ตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะครัวเรือนฐานรากของประเทศไทย ครัวเรือนฐานราก หรือ ครัวเรือนควินไทล์ที่ 1 ซึ่งมีรายได้น้อยที่สุดร้อยละ 20 ของ ครัวเรือนทั้งประเทศ เป็นครัวเรือนที่มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจสูง การ ศึกษาถึงคุณลักษณะของครัวเรือนฐานราก เพื่อค้นหาคุณลักษณะสำ าคัญที่อาจบ่งบอกถึงความเป็น ครัวเรือนฐานรากซึ่งมีความแตกต่างจากคุณลักษณะของครัวเรือนกลุ่มอื่น ๆ ทั้งนี้ คุณลักษณะ สำ าคัญนั้นอาจนำ าไปสู่กระบวนการให้ความช่วยเหลือ หรือให้การสนับสนุนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในบทนี้จึงเป็นการศึกษาคุณลักษณะที่สำ าคัญดังกล่าว โดยพิจารณาปัจจัย 5 ด้าน คือ ปัจจัยด้าน ลักษณะของคนในครัวเรือน ปัจจัยด้านสถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ปัจจัยด้านการศึกษา และการทำ างาน ปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยครัวเรือน (ตามหมวด) และปัจจัยด้านลักษณะครัวเรือนอื่น ๆ ในการศึกษาครั้งนี้มีตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ ดังนี้ 1. การเลือกตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ ในการศึกษานี้ ได้เลือกตัวแปรที่สอดคล้องกับการจัดทำ าดัชนีความยากจนหลายมิติ (Multidimensional Poverty Index: MPI) สำ าหรับประเทศไทยเป็นหลัก นำ ามาจัดกลุ่ม เพื่อพิจารณาเป็นปัจจัยด้านต่าง ๆ สำ าหรับการวิเคราะห์ โดยดัชนีความยากจนหลายมิตินี้จัดทำ า ขึ้นโดยสำ านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นตัวแปรที่พิจารณาแล้วว่ามี ผลต่อความขัดสนในการดำ ารงชีวิตของคนไทย นอกจากนั้นยังพิจารณาตัวแปรจากงานวิจัยต่าง ๆ ที่ผ่านมาประกอบด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==