ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564

หน้า l 81 ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2564 ด้านการศึกษาและการทำ างาน ประกอบด้วย สัดส่วนครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนจบ การศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำ ากว่า และสัดส่วนของครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนทำ างาน ในภาคเกษตร เมื่อพิจารณาคุณลักษณะของครัวเรือนในประเด็นด้านการศึกษาและการทำ างานแล้ว จะเห็นว่า กลุ่มครัวเรือนฐานรากมีสัดส่วนครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนจบการศึกษาระดับประถม ศึกษาหรือต่ำ ากว่า แตกต่างจากครัวเรือนกลุ่มควินไทล์ที่ 2 นั่นคือสามารถบ่งบอกความเป็น ครัวเรือนฐานรากได้ที่ระดับความเชื่อมั่น 99.9% ในขณะที่มี สัดส่วนของครัวเรือนที่ หัวหน้าครัวเรือนทำ างานในภาคเกษตร ไม่แตกต่างจากครัวเรือนกลุ่มควินไทล์ที่ 2 นั่นคือ ไม่ได้บ่งบอกความเป็นครัวเรือนฐานรากได้ดีนัก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยและสัดส่วนระหว่าง กลุ่มครัวเรือนฐานรากกับกลุ่มควินไทล์ที่ 5 พบว่า สัดส่วนครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนจบ การศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำ ากว่ามีความต่างถึง 8.10 เท่า และสัดส่วนของครัวเรือน ที่หัวหน้าครัวเรือนทำ างานในภาคเกษตรมีความต่าง 4.67 เท่า เป็นที่น่าสังเกตว่า ความแตกต่างระหว่างกลุ่มครัวเรือนฐานรากกับกลุ่มควินไทล์ที่ 5 ในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัด (ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ) สูงกว่าความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มครัวเรือนฐานรากกับกลุ่มควินไทล์ที่ 5 ในภาพรวมทั่วประเทศ สำ าหรับตัวแปรสัดส่วน ของครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนจบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำ ากว่า ในขณะที่ตัวแปร สัดส่วนของครัว เรือนที่หัวหน้าครัว เรือนทำ างานในภาคเกษตร กลับมีความแตกต่าง ในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัด ที่ต่ำ ากว่าความแตกต่างภาพรวมทั่วประเทศ ด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน (ตามหมวด) ประกอบด้วย หมวดอาหาร และเครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) หมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หมวดยาสูบ/หมาก/ยานัตถุ์และ อื่น ๆ หมวดเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า หมวดค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล “แม้ว่า�กลุ่มครัวเรือนฐานรากในกรุงเทพมหานคร�และ�3�จังหวัด� จะมีสัดส่วนของครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนจบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำ�กว่า� น้อยกว่ากลุ่มครัวเรือนฐานรากทั่วประเทศ�แต่กลับพบว่ามีความเหลื่อมล้ ำ าที่สูงกว่า” “ ค่าใช้จ่ายในหมวดเวชภัณฑ์และค่ารักษาพยาบาล�หมวดการบันเทิงการอ่านและ กิจกรรมทางศาสนา�หมวดยาสูบ/หมาก/ยานัตถุ์และอื่นๆ�และหมวดการจัดงานพิเศษ� ไม่ได้บ่งบอกความเป็นครัวเรือนฐาน” เป็นที่น่าสังเกตว่า ความแตกต่างระหว่างกลุ่มครัวเรือนฐานรากกับกลุ่มควินไทล์ที่ 5 ในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัด (ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ) สูงกว่าความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มครัวเรือนฐานรากกับกลุ่มควินไทล์ที่ 5 ในภาพรวมทั่วประเทศ เกือบทุกตัวแปร ยกเว้น ตัวแปรสัดส่วนครัวเรือนที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินขนาดใหญ่ สัดส่วนครัวเรือนที่ได้รับเงินจากคนนอก ครัวเรือน (ญาติ) และมูลค่าทรัพย์สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ที่ความแตกต่างในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัด มีค่าต่ำ ากว่าความแตกต่างภาพรวมทั่วประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==