ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2566

1 ครัวเรือนฐานราก พ . ศ . 2566 การเปลี่ยนแปลงกระแสทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิด ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจในมิติต่าง ๆ เป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยอยู่ ในสภาวะที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งภายในและภายนอกประเทศ สำ าหรับประเทศไทย ภาครัฐได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มคนเปราะบาง รวมถึง แรงงานนอกระบบอย่ างต่ อเนื่อง 1 ดังที่ปรากฏในกรอบการพัฒนาของประเทศไทย ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ที่มีเป้าหมายและตัวชี้วัดเกี่ยวข้องกับความยากจน ซึ่งสอดคล้องกับ กรอบเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่องค์การสหประชาชาติกำ าหนดขึ้น นั่นคือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยความเหลื่อมลำ้ าและความยากจน เป็นประเด็นสำ าคัญที่ถูกบรรจุไว้ ในเป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และถูกนำ ามา พิจารณาไว้ในแผนงานของประเทศในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีวิสัยทัศน์ด้านความมั่งคั่ง ที่ว่า ประชากรมีความอยู่ดีมีสุขได้รับผลประโยชน์จากการ พัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น มีการพัฒนาอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วน มีคุณภาพชีวิตตาม มาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ ไม่มีประชาชนที่อยู่ในภาวะความยากจน ตลอดจน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่าง ๆ ยังคงยึดหลักการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมลำ้ าอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลในวงกว้าง ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อกลุ่มแรงงานฐานรากอย่างรุนแรง 2 ซึ่งเป็นประชาชนที่อยู่ในกลุ่มครัวเรือนฐานราก หรือ ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่สุดร้อยละ 20 ของประเทศ นั่นเอง จึงเป็นครัวเรือนที่มีความ อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะทางเศรษฐกิจสูงกว่าครัวเรือนกลุ่มอื่นในประเทศ เมื่อพิจารณาสถานการณ์ความยากจนของประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พบว่า มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น (แผนภูมิ 1) โดยในปี 2555 มีจำ านวนคนจนผู้มีรายได้ตำ่ ากว่า เส้นความยากจนอยู่ 8.4 ล้านคน และลดลงเหลือเพียง 3.8 ล้านคนในปี 2565 หรือสัดส่วนคนจน ลดลงจากร้อยละ 12.6 ในปี 2555 เหลือเพียงร้อยละ 5.4 ในปี 2565 1/ Thailand Economic Monitor: The Road to Recovery, World Bank Group. 2021. Thailand Economic Monitor, World Bank, Bangkok. 2/ Elbehri, A., Temel, T., Burcu Ceylan, F., Mittal, S., Kularatne, D. and Dawe, D. 2022. COVID-19 pandemic impacts on Asia and the Paciພc A regional review of socioeconomic, agrifood and nutrition impacts and policy responses. Bangkok, FAO. https://doi.org/ 10.4060/cb8594en. บทนำ �

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==