ครัวเรือนฐานราก พ.ศ. 2566

15 ครัวเรือนฐานราก พ . ศ . 2566 งÒ¹Çิจัยที่เ¡ี่ยÇข้อง ในการศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นครัวเรือนฐานรากครั้งนี้ ได้ทำ าการทบทวน วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ สำ านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2562) ศึกษาดัชนี ความยากจนหลายมิติของประเทศไทยปี 2560 โดยศึกษาจาก 4 มิติ 12 ตัวชี้วัด ได้แก่ มิติการ ศึกษา มิติการใช้ชีวิตในแบบที่ดีต่อสุขภาพ มิติความเป็นอยู่ และมิติความมั่นคงทางการเงิน พบว่า มิติที่ส่งผลต่อความยากจนหลายมิติมากที่สุด ได้แก่ มิติด้านความเป็นอยู่ รองลงมาได้แก่ มิติการใช้ชีวิตในแบบที่ดีต่อสุขภาพ และมิติความมั่นคงทางการเงิน เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดที่ส่งผล ต่อคนยากจนหลายมิติ พบว่า การไม่มีบำ าเหน็จ/บำ านาญเป็นปัจจัยสำ าคัญที่ส่งผลให้ครัวเรือน เป็นครัวเรือนยากจน รองลงมาคือ การกำ าจัดขยะ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และการศึกษา สำ าหรับ ภาคที่มีค่าดัชนีความยากจนหลายมิติสูงที่สุด คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้ แนวโน้ม ความยากจนหลายมิติของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง (ในปี 2560 อยู่ที่ 0.068 ปรับตัวลด ลงจาก 0.109 และระดับ 0.078 ในปี 2556 และปี 2558 ตามลำ าดับ) สำ านักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2562) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่าย การออม หนี้สิน ปัจจัยที่กำ าหนดการตัดสินใจก่อหนี้และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ทรัพย์สินหรือความมั่งคั่ง ของครัวเรือน รายได้เงินสดจากหัตถกรรมของครัวเรือน เนื้อที่เพาะปลูกทั้งสิ้นของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน จำ านวนสมาชิกในครัวเรือน สมาชิก ครัวเรือนที่พึ่งพิง ภูมิภาคของครัวเรือน การได้รับการอบรมของหัวหน้าครัวเรือน และรายได้ เงินสดจากเงินโอนของครัวเรือน สำ าหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายจ่ายของครัวเรือนเกษตร รายได้ เงินสดของครัวเรือน ความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหนี้สินทั้งสิ้นของครัวเรือน อายุของ หัวหน้าครัวเรือน การศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน จำ านวน สมาชิกในครัวเรือน ภูมิภาคของครัวเรือน และการปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจของหัวหน้าครัวเรือน สำ านักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2562) ศึกษาภาวะความยากจน รวมทั้งศึกษาปัจจัย ที่มีผลต่อความยากจนของครัวเรือนเกษตร เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของความยากจนกับตัวแปร ทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตร พบว่า ครัวเรือนเกษตรที่มีภาวะความยากจนหรือ ความรุนแรงของความยากจนมากที่สุด คือ ครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือ ครัวเรือนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำ าดับ สำ าหรับปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนของ ครัวเรือนเกษตร ได้แก่ ภาค เขตชลประทาน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของ หัวหน้าครัวเรือน จำ านวนสมาชิกในครัวเรือน อัตราการเป็นภาระ พื้นที่ทำ าการเกษตร ทรัพย์สิน สุทธิของครัวเรือน และจำ านวนหนี้สินของครัวเรือน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==