ความเสมอภาคระหว่างเพศของผู้ปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการ: จากโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ถึงข้อมูลจุลภาคอุตสาหกรรมไทย
P a g e | 8 ความเสมอภาคในมิติการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ในมิติของการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ผู้วิเคราะห์ได้สร้างตัวแบบการถดถอยอย่างง่าย ( Simple Linear Regression model) โดย กาหนดให้ จานวนผู้ปฏิบัติงานทั้งสิ้นเป็นตัวแปรต้น ( Independent variable) และจานวนผู้ปฏิบัติงานแต่ละเพศเป็นตัวแปรตาม ( Dependent variable) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ของการเปลี่ยนแปลงจานวนผู้ปฏิบัติงานแต่ละเพศ เมื่อ จานวนผู้ปฏิบัติงานทั้งสิ้นเปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย ดังสมการ ( 2 ) และ ( 3 ) = 1 + 1 (2) = 2 + 2 (3) เมื่อ Employee แทน จานวนผู้ปฏิบัติงานทั้งสิ้น Employee Male แทน จานวนผู้ปฏิบัติงานชาย Employee Female แทน จานวนผู้ปฏิบัติงานเพศหญิง ทั้งนี้ ผู้วิเคราะห์ได้กาหนดให้ประเภทของผู้ปฏิบัติงาน (ผู้ปฏิบัติงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างเงินเดือน ลูกจ้างในกรรมวิธีการผลิต และลูกจ้างอื่น ๆ) รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) ปี 2552 (Thailand Standard Industrial Classification: TSIC-2009) ระดับหมวดย่อย ( 2 หลัก) เป็นอิทธิพลคงที่ ( Fixed effects) และนาสัมประสิทธิ์ การถดถอย ( Regression coefficient) จากตัวแบบของแต่ละเพศไปทาการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่าง สัมประสิทธิ์การถดถอย เพื่อหาข้อสรุปความแตกต่างของการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของแต่ละเพศ โดยใช้สถิติทดสอบ Z ดังสมการ ( 4 ) = 1 − 2 √( 1 ) 2 +( 2 ) 2 (4) ในภาพรวม เมื่อจานวนผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตเปลี่ยนแปลงไป 100 หน่วย จานวนผู้ปฏิบัติงานเพศชายจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 43.56 หน่วย และจานวน ผู้ปฏิบัติงานเพศหญิงจะเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกัน 56.44 หน่วย ซึ่งหากพิจารณาในแต่ละประเภทคนท างาน พบว่า จานวนผู้ปฏิบัติงานเพศหญิงจะเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนที่สูงกว่าเพศชายในทุกประเภท หากพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของจานวนผู้ปฏิบัติงานแต่ละเพศ เมื่อ จานวนผู้ปฏิบัติงานทั้งสิ้น เปลี่ยนแปลงไป ตามรูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย พบว่า เมื่อจานวนผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ อุตสาหกรรมการผลิตที่เป็นมูลนิธิ ส่วนบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) ห้างหุ้นส่วนจากัด (หจก.) ส่วนราชการ และรัฐวิชาหกิจ เปลี่ยนแปลงไป 100 หน่วย จะมีสัดส่วนผู้ปฏิบัติงานเพศชาย ที่เปลี่ยนแปลงไป ในทิศทางเดียวกัน ที่สูงกว่าเพศหญิง ส่วนสถานประกอบการที่มีรูปแบบการจัดตั้งในรูปแบบอื่น ๆ จะมีสัดส่วน ผู้ปฏิบัติงานเพศหญิงที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันสูงกว่าเพศชาย หากพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของ จานวนผู้ปฏิบัติงานแต่ละเพศ เมื่อ จานวนผู้ปฏิบัติงานทั้งสิ้น เปลี่ยนแปลงไป ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พบว่า สถานประกอบการที่ประกอบกิจการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เครื่องจักรและเครื่องมือฯ อุปกรณ์ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อาหาร เภสัชภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค เครื่องหนังและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฯ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ สิ่งทอ การพิมพ์และการผลิต ้ ซาสื่อบันทึกข้อมูล การผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง และการผลิตเครื่องดื่ม จะมีสัดส่วนผู้ปฏิบัติงาน เพศหญิงที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันสูงกว่าเพศชาย ในทางกลับกัน สถานประกอบการที่ประกอบกิจการการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ฯ เคมีภัณฑ์และ ผลิตภัณฑ์เคมี เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมฯ อุปกรณ์ขนส่งอื่นๆ การผลิตไม้และ ผลิตภัณฑ์จากไม้และไม้ก๊อก กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ โลหะขั้นมูลฐาน การซ่อมและการติดตั้ง เครื่องจักรและอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ทาจากแร่อโลหะ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก จะมีสัดส่วนผู้ปฏิบัติงาน เพศชายที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันสูงกว่าเพศหญิง (แผนภูมิที่ 3 )
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==