ความเสมอภาคระหว่างเพศของผู้ปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการ: จากโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ถึงข้อมูลจุลภาคอุตสาหกรรมไทย
The Business and Industrial Census: An Analysis Series ความเสมอภาคระหว่างเพศของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ: จากโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ ถึงข้อมูลจุลภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย (Gender Equality of Person Engaged in Establishment: From Economics Nobel Prize to Thai’s Manufacturing Micro Data) ประเด็นที่ สาคัญ ในมิติของการมีส่วนร่วมของการปฏิบัติงาน อัตราส่วนเพศ และสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของผู้ปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการแต่ละเพศ แตกต่างกันไปตามลักษณะงาน เนื่องจากงานบางประเภทจาเป็นต้องใช้ทักษะ หรือความช านาญ ที่จาเป็นต้องมีการจ้างผู้ปฏิบัติงาน เพศใดเพศหนึ่งมากกว่า สาหรับมิติการของการได้รับค่าตอบแทนแรงงาน ผู้ปฏิบัติงานเพศหญิงมักได้รับค่าตอบแทนแรงงาน ต ่ ากว่าผู้ปฏิบัติงานเพศชาย โดยผู้ปฏิบัติงานเพศหญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มักได้รับค่าตอบแทนแรงงาน ต ่ ากว่าผู้ปฏิบัติงานเพศชายอย่างชัดเจน รวมถึงผู้ปฏิบัติงานเพศหญิงที่มีสถานภาพสมรส หรือม่าย หรือมีระดับการศึกษาเดียวกัน หรือปฏิบัติงานในอาชีพระดับพื้นฐานถึงระดับกลาง จะได้รับค่าตอบแทน แรงงานต ่ ากว่าผู้ปฏิบัติงานเพศชายในกลุ่มเดียวกันอย่างชัดเจน นิยาม การยุติการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ รวมทั้งเป็นปัจจัย สาคัญในการสร้าง อนาคตที่ยั่งยืน โดยการเสริมสร้างบทบาทของผู้หญิงและเด็กหญิงจะช่วยสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ แม้ในปัจจุบันจะมีเด็กผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น และมี จานวนผู้หญิงในตลาดแรงงาน มากขึ้น แต่ยังคงมีความไม่เสมอภาคระหว่างเพศในการเข้าถึงสิทธิแรงงานและค่าจ้าง นอกจากนี้ ความรุนแรง และการละเมิดทางเพศ และการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิง ยังคงเป็นอุปสรรค สาคัญในการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมในการทางาน ตลอดจนเข้าถึงสิทธิสุขภาวะทางเพศ และอนามัย การเจริญพันธุ์ จึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุน สาคัญให้บรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมทางเพศ รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจาปี 2566 ได้มอบให้กับงานวิจัย History helps us understand gender di fferences in the labour market ของศาตราจารย์คลอเดีย โกลดิน ( Claudia Goldin ) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่ศึกษาเกี่ยวกับช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ และปัจจัย สาคัญ ที่ขับเคลื่อนความแตกต่างทางเพศในตลาดแรงงาน ซึ่งพบว่า การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในตลาดแรงงาน ตลอดช่วงเวลา 200 ปีที่ผ่านมา มีลักษณะแนวโน้มแบบ U-shaped curve โดยการมีส่วนร่วมของผู้หญิง ที่แต่งงานแล้วลดลงเมื่อเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรมในต้นศตวรรษที่ 19 จากนั้น ก็เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของภาคบริการในต้นศตวรรษที่ 20 (ภาพที่ 1)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==