ความเสมอภาคระหว่างเพศของผู้ปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการ: จากโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ถึงข้อมูลจุลภาคอุตสาหกรรมไทย

P a g e | 2 ภาพที่ 1: การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในตลาดแรงงานจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และการพัฒนาบรรทัดฐานทางสังคมด้านความรับผิดชอบของผู้หญิงต่อบ้านและครอบครัว ที่มา : https://www.nobelprize.org/uploads/ 2023/10/popular-economicsciencesprize2023.pdf แม้โครงสร้างทางเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลง และสัดส่วนของผู้หญิงที่มีงานท าเพิ่มขึ้นในศตวรรษ ที่ 20 แต่ช่องว่างรายได้ระหว่างผู้หญิงและผู้ชายแทบจะไม่ลดลง และกลับเป็นประเด็นปัญหา สาคัญที่เกิดขึ้น ในอดีตช่องว่างระหว่างเพศในด้านรายได้ส่วนใหญ่สามารถอธิบายได้ด้วยความแตกต่างด้านการศึกษา และการเลือกอาชีพ แต่ความแตกต่างทางรายได้ในบริบทของสังคมยุคใหม่เกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงมีการคลอดบุตร คนแรก (ภาพที่ 2) ภาพที่ 2: ความแตกต่างทางรายได้ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการคลอดบุตรคนแรก ที่มา: https://www.nobelprize.org/uploads/ 2023/10/ popular-economicsciencesprize 2023. pdf จากงานวิจัยดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงความ สาคัญของความแตกต่างระหว่างเพศในการทางาน สานักงาน สถิติแห่งชาติ ดาเนินโครงการ สามะโนอุตสาหกรรม มีการเก็บรวบรวมข้อมูลระดับจุลภาคของสถาน- ประกอบการ ทั้งในด้านของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้านคนทางาน ประเภทคนทางาน จาแนกตามเพศ จากสถานประกอบการในภาคการผลิต รวมถึงการ สารวจภาวะการทางานของประชากร ที่มีการเก็บรวบรวม ข้อมูลลักษณะทางประชากร กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และค่าตอบแทนแรงงาน ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูล จากโครงสร้างดังกล่าว อาจสามารถชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ความเสมอภาคระหว่างเพศของการทางาน ในสถานประกอบการของประเทศไทยได้ ผู้วิเคราะห์ได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับความเสมอภาคระหว่างเพศ ของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ในมิติของการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และค่าตอบแทนแรงงาน ที่ได้รับของผู้ปฏิบัติงานแต่ละเพศ โดยมีค านิยาม สาคัญ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==