ความเสมอภาคระหว่างเพศของผู้ปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการ: จากโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ถึงข้อมูลจุลภาคอุตสาหกรรมไทย
P a g e | 4 สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต หมายถึง สถานประกอบการที่ดาเนินกิจการเกี่ยวกับ การผลิต ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนรูปวัตถุให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ด้วยเครื่องจักรหรือเคมีภัณฑ์ โดยไม่ค านึงถึงว่างานนั้นทาด้วยเครื่องจักรหรือด้วยมือ หรือทาในโรงงาน โรงซ่อม หรือเคหะสถาน หรือผลิตภัณฑ์นั้นขายส่งหรือขายปลีกก็ตาม การประกอบชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์นับว่าเป็นการผลิตด้วย โดยในการจัดจาแนกจะพิจารณาตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี 2552 ( Thailand Standard Industrial Classification: TSIC- 2009) ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตจัดอยู่ในประเภท C ( หมวดย่อย 10 – 33) รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย 1) ส่วนบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่เป็นนิติบุคคล หมายถึง สถานประกอบการที่มีเจ้าของ เป็นบุคคลธรรมดา คนเดียวหรือหลายคนรวมกัน และให้หมายรวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน เป็นนิติบุคคลด้วย 2) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจากัด หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้น โดยมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รวมทุนกันเพื่อประกอบการผลิตและมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยการ จดทะเบียนตามกฎหมาย 3) บริษัท จากัด หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้ริเริ่มคณะหนึ่ง และได้จดทะเบียนถูกต้อง ตามกฎหมาย โดยมีผู้เริ่มด าเนินการอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป และบริษัทจากัด (มหาชน) หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นโดยการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การควบบริษัท หรือการแปรสภาพบริษัท และวัตถุประสงค์ที่จะขายหุ้นต่อประชาชน โดยมีผู้ริเริ่มด าเนินการตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป 4) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หมายถึง สถานประกอบการที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือมีทุนอยู่ด้วย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด ในที่นี้ให้หมายรวมถึงสถานประกอบการที่ด าเนินการโดยรัฐบาลด้วย 5) สหกรณ์ หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นในรูปของสหกรณ์ โดยจดทะเบียนถูกต้อง ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ โดยมีผู้ก่อตั้งไม่น้อยกว่า 10 คน 6) การรวมกลุ่ม หมายถึง กลุ่มที่เกิดจากความต้องการของสมาชิกที่มารวมกลุ่มกันขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวคิดสร้างสรรค์กลุ่มเพื่อยกระดับ ความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดียิ่งขึ้นทั้งคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม โดยใช้หลักการท างาน แบบมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทา ร่วมตัดสินใจ และร่วมพัฒนาสมาชิก 7) มูลนิธิ หมายถึง ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะ สาหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหา ประโยชน์มาแบ่งปันกัน และการจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใด 8) วิสาหกิจชุมชน หมายถึง กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดาเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะ เป็นนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน 9) อื่น ๆ หมายถึง สถานประกอบการที่จัดตั้งในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้น เช่น สมาคม สโมสร ชมรมต่าง ๆ เป็นต้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==