ความเสมอภาคระหว่างเพศของผู้ปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการ: จากโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ถึงข้อมูลจุลภาคอุตสาหกรรมไทย
P a g e | 5 ระดับการศึกษา จาแนกการศึกษาตามระดับการศึกษาที่ สาเร็จดังนี้ 1) ไม่มีการศึกษา หมายถึง บุคคลที่ไม่เคยเข้าศึกษาในโรงเรียน หรือไม่เคยได้รับการศึกษา 2) ต ่ ากว่าประถมศึกษา หมายถึง บุคคลที่ สาเร็จการศึกษาต ่ ากว่าชั้นประถมปีที่ 6 หรือชั้นประถมปีที่ 7 หรือชั้นม.3 เดิม 3) ประถมศึกษา หมายถึง บุคคลที่ สาเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 6 หรือชั้นประถมปีที่ 7 หรือชั้น ม.3 เดิมขึ้นไป แต่ไม่ สาเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า 4) มัธยมศึกษาตอนต้น หมายถึง บุคคลที่ สาเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้น ม.3 ม.ศ.3 หรือ ม.6 เดิมขึ้นไป แต่ไม่ สาเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า 5) มัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ หมายถึง บุคคลที่ สาเร็จการศึกษาประเภทสามัญศึกษาตั้งแต่ ชั้น ม.6 ม.ศ.5 หรือ ม.8 เดิมขึ้นไป แต่ไม่ สาเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า สายอาชีวศึกษา หมายถึง บุคคล ที่ สาเร็จการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา หรือวิชาชีพที่ เรียนต่อจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า โดยมีหลักสูตรไม่เกิน 3 ปี และไม่ สาเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า สายวิชาการศึกษา หมายถึง บุคคลที่ สาเร็จ การศึกษาประเภทวิชาการศึกษา (การฝึกหัดครู) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าขึ้นไป แต่ไม่ สาเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า 6) อนุปริญญา สายสามัญศึกษา หมายถึง บุคคลที่ สาเร็จการศึกษาประเภทสามัญศึกษา หรือสาย วิชาการโดยได้รับวุฒิบัตรระดับอนุปริญญา สายอาชีวศึกษา หมายถึง บุคคลที่ สาเร็จการศึกษาประเภท อาชีวศึกษา หรือสายวิชาชีพที่ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ปกศ.สูง) 7) ปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบด้วย ผู้ สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก จากทุกสถาบันการศึกษา 8) การศึกษาอื่น ๆ ได้แก่ หลักสูตรที่ไม่ได้วุฒิการศึกษา เช่น หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น การศึกษา ปอเนาะ การศึกษาที่เทียบระดับไม่ได้ เช่น การศึกษาทางศาสนา อิสลามศึกษา แผนกวิชาศาสนาอิสลาม และเรียนแต่ไม่ทราบระดับการศึกษา อาชีพ หมายถึง ประเภทหรือชนิดของงานที่บุคคลนั้นทาอยู่ บุคคลส่วนมากมีอาชีพเดียว สาหรับบุคคล ที่ในสัปดาห์แห่งการ สารวจมีอาชีพมากกว่า 1 อาชีพ ให้นับอาชีพที่มีชั่วโมงทางานมากที่สุดถ้าชั่วโมงทางาน แต่ละอาชีพเท่ากัน ให้นับอาชีพที่มีรายได้มากกว่า ถ้าชั่วโมงทางานและรายได้ที่ได้รับจากแต่ละอาชีพเท่ากัน ให้นับอาชีพที่ผู้ตอบสัมภาษณ์พอใจมากที่สุด ถ้าผู้ตอบสัมภาษณ์ตอบไม่ได้ ให้นับอาชีพที่ได้ทามานานที่สุด การจัดจาแนกประเภทอาชีพ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2554 ปรับใช้ตาม International Standard Classification of Occupation, 2008 ( ISCO – 08) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO) ก่อน พ.ศ. 2553 การจัดประเภทอาชีพจาแนกตามความเหมาะสมกับลักษณะอาชีพของประเทศไทย โดยอ้างอิง The International Standard Classification of Occupation, 1988 ( ISCO – 88) ผลการวิเคราะห์ ในกระบวนการศึกษาเกี่ยวกับความเสมอภาคระหว่างเพศของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ผู้วิเคราะห์ได้ดาเนินการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ( Descriptive statistics) และสถิติเชิงอนุมาน ( Inference Statistics) เพื่อหาข้อสรุปในประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย 1. โครงสร้างของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต 2. ความเสมอภาคในมิติของการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน 3. ความเสมอภาคในมิติของค่าตอบแทนแรงงานที่ได้รับของผู้ปฏิบัติงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==