ความเสมอภาคระหว่างเพศของผู้ปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการ: จากโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ถึงข้อมูลจุลภาคอุตสาหกรรมไทย

P a g e | 6  โครงสร้างของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต สาหรับการวิเคราะห์โครงสร้างของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ผู้วิเคราะห์ได้ศึกษาเกี่ยวกับอัตราส่วนเพศ ( Sex ratio) ของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเสมอภาค ของผู้ปฏิบัติงาน ดังสมการ (1) อัตราส่วนเพศ = จานวนผู้ปฏิบัติงานเพศชาย จานวนผู้ปฏิบัติงานเพศหญิง (1) แผนภูมิที่ 1 : การเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนเพศของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ระหว่างปี 2550 - 2565 ♂♀ จากการพิจารณาข้อมูลผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต (แผนภูมิที่ 1) ตั้งแต่การ สามะโน อุตสาหกรรม พ.ศ. 2550 จนถึง สามะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 (อุตสาหกรรมการผลิต) พบว่า มีอัตราส่วนเพศของผู้ปฏิบัติงานไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก โดยค่ามัธยฐานอัตราส่วนเพศมีค่าเท่ากับ 1.00 กล่าวคือ มีผู้ปฏิบัติงานเพศชายและเพศหญิงเท่ากัน แต่หากพิจารณาค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนเพศ ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต พบว่า มีค่ามากกว่า 1.00 ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือ โดยเฉลี่ย แล้วในสถานประกอบการผลิตมีจานวนผู้ปฏิบัติงานเพศชายมากกว่าเพศหญิง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตามประเภทคนทางาน รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย และกิจกรรม ทางเศรษฐกิจจาก สามะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 (อุตสาหกรรมการผลิต) พบว่า มีอัตราส่วนเพศ ของผู้ปฏิบัติงานแตกต่างกันไป โดยผู้ปฏิบัติงานที่เป็นคนท างานโดยไม่ได้รับค่าจ้างเงินเดือน และลูกจ้างอื่น ๆ มีอัตราส่วนเพศต ่ ากว่า 1.00 กล่าวคือ มีผู้ปฏิบัติงานเพศหญิงมากกว่าชาย เมื่อพิจารณาอัตราส่วนเพศในสถานประกอบการที่มีรูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมายแตกต่างกัน พบว่า สถานประกอบการที่เป็นการรวมกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน และมูลนิธิ มีอัตราส่วนเพศต ่ ากว่า 1.00 กล่าวคือ มีผู้ปฏิบัติงานเพศหญิงมากกว่าชาย ส่วนการจัดตั้งในรูปแบบอื่น ๆ มีอัตราส่วนเพศสูงกว่า 1.00 โดยสถานประกอบการที่เป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) ห้างหุ้นส่วนจากัด (หจก.) บริษัท จากัด (บจก.) บริษัท จากัด (มหาชน ) ( บมจ.) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และอื่น ๆ มีอัตราส่วนเพศของผู้ปฏิบัติงาน สูงกว่า 2.00 สาหรับอัตราส่วนเพศในสถานประกอบการที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน พบว่า สถานประกอบการการผลิตเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย สิ่งทอ เภสัชภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค การผลิตเครื่องหนัง และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ มีอัตราส่วนเพศต ่ ากว่า 1.00 กล่าวคือ มีผู้ปฏิบัติงาน เพศหญิงมากกว่าชาย ส่วนในกิจกรรมอื่น ๆ มีอัตราส่วนเพศสูงกว่า 1.00 โดยสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง กับการติดตั้งและซ่อมแซมเครื่องจักรและอุปกรณ์ มีอัตราส่วนเพศสูงถึง 3.23 (แผนภูมิที่ 2 ) 1.59 1.56 1.52 1.62 1.00 1.00 1.00 1.00 0.29 0.25 0.33 0.00 4.67 4.73 4.00 5.00 0.00 1.00 2.00 3.00 4.00 5.00 6.00 2550 2555 2560 2565 Mean Median Percentile 5 Percentile 95

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==