รายได้และการกระจายรายได้ของครัวเรือน พ.ศ. 2566 ระดับจังหวัด

พ - 4 รายได้และการกระจายรายได้ของครัวเรือน พ.ศ. 2566 ระดับจังหวัด ทั้งนี้ คำ านิยามของผู้ใหญ่และเด็กตาม modiພed OECD equivalence scale ดั้งเดิม หมายถึง “ผู้ที่อายุ 14 ปีขึ้นไป” และ “ผู้ที่มีอายุต่ำ ากว่า 14 ปี” ตามลำ าดับ อย่างไรก็ตามการสำ ารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ของประเทศไทย ใช้คำ านิยาม “ผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป” และ “ผู้ที่มีอายุต่ำ ากว่า 15 ปี” ในการบันทึกจำ านวนสมาชิกครัวเรือน ผู้ใหญ่และเด็ก 3 การคำ านวณ household equivalence scale ในรายงานฉบับนี้จึงมีการปรับคำ านิยามตามการสำ ารวจ ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของประเทศไทย ต�ร�ง พ 1 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายได้ครัวเรือน 3 ประเภท ได้แก่ รายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อ เดือนของครัวเรือน รายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนต่อคนของครัวเรือน รายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนแบบปรับ เทียบเท่า (equivalised) ประเทศไทยมีรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน 28,706 บาท รายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อ เดือนต่อคนของครัวเรือน 10,773 บาท รายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนแบบปรับเทียบเท่า (equivalised) 16,745 บาท จะเห็นได้ว่ารายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน 28,706 บาท เป็นรายได้ประจำ าทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อ ครัวเรือนที่ไม่ได้คำ านึงถึงจำ านวนสมาชิกของแต่ละครัวเรือนรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนต่อคนของครัวเรือนมีการหาร เฉลี่ยให้เป็นรายได้ต่อคน แต่ไม่ได้คำ านึงขนาดและองค์ประกอบของครัวเรือน ส่วนรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนของ ครัวเรือนแบบปรับเทียบเท่า (equivalised) เปรียบเสมือนรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนต่อคนที่มีการปรับให้คำ านึงขนาด และองค์ประกอบของครัวเรือน เมื่อพิจารณาในระดับภาค ไม่มีความแตกต่างกันของอันดับภาคตามรายได้ครัวเรือน เมื่อพิจารณารายได้ครัวเรือนทั้ง 3 ประเภท โดยภาคที่มีรายได้ครัวเรือนสูงสุดเรียงลำ าดับไปยังภาคที่มีรายได้ครัวเรือน ต่ำ าที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัด ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระดับจังหวัด อันดับของจังหวัดตามรายได้ครัวเรือนจะมีความแตกต่างกันไปตามรายได้ครัวเรือน แต่ละประเภท ซึ่งแสดงให้เห็นผลที่แตกต่างกันของการใช้ตัวชี้วัดรายได้ครัวเรือนที่แตกต่างกัน ดังนี้ จังหวัดที่มี รายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนสูงสูด 3 อันดับแรก ได้แก่ ปทุมธานี (45,067 บาท) จันทบุรี (43,623 บาท) และภูเก็ต (41,636 บาท) จังหวัดที่มีรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนต่อคนของครัวเรือนสูงสูด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (17,357 บาท) นนทบุรี (16,405 บาท) และระยอง (16,355 บาท) จังหวัดที่มีรายได้ประจำ าเฉลี่ย ต่อเดือนครัวเรือนแบบปรับเทียบเท่า (equivalised) สูงสูด 3 อันดับแรก ได้แก่ จันทบุรี (25,208 บาท) ปทุมธานี (24,803 บาท) และกรุงเทพมหานคร (24,542 บาท) จังหวัดที่มีรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนต่ำ าสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เชียงราย (15,649 บาท) พะเยา (17,101 บาท) และนราธิวาส (18,310 บาท) จังหวัดที่มีรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อเดือนต่อคนของครัวเรือนต่ำ าสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัตตานี (5,272 บาท) นราธิวาส (5,531 บาท) และเชียงราย (5,738 บาท) จังหวัดที่มีรายได้ประจำ า เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนแบบปรับเทียบเท่า (equivalised) ต่ำ าสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เชียงราย (9,218 บาท) ปัตตานี (9,503 บาท) และนราธิวาส (9,513 บาท) นอกจากนี้ บทนี้ยังแสดงค่ามัธยฐานรายได้ประจำ าต่อเดือนของครัวเรือนแบบปรับเทียบเท่า (median equivalised income) ซึ่งเป็นค่าที่มักถูกใช้โดยองค์การระหว่างประเทศและสำ านักงานสถิติแห่งชาติของนานาชาติ ในการสะท้อนมาตรฐานการครองชีพของครัวเรือนทั่วไปในประเทศ 4 (หรือระดับย่อยกว่าประเทศ) โดยครัวเรือนทั้งประเทศ มีค่ามัธยฐานรายได้ประจำ าต่อเดือนของครัวเรือนแบบปรับเทียบเท่า 12,669 บาท เมื่อพิจารณาในระดับจังหวัด จังหวัดที่ มีค่ามัธยฐานรายได้ประจำ าต่อเดือนของครัวเรือนแบบปรับเทียบเท่าสูงสูด 3 อันดับแรก ได้แก่ ปทุมธานี (20,415 บาท) ภูเก็ต (20,145 บาท) และระยอง (19,790 บาท) ส่วนจังหวัดที่มีค่ามัธยฐานรายได้ประจำ าต่อเดือนของครัวเรือนแบบปรับ เทียบเท่าต่ำ าสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นราธิวาส (9,218 บาท) แม่ฮ่องสอน (9,503 บาท) และเชียงราย (9,513 บาท) 3/ สำ �นักง�นสถิติแห่งช�ติ. (22 มีน�คม 2567). The Household Socio-Economic Survey 2023 Data Dictionary. 4/ Eurostat. (2015, August 18). Archive: Living standard statistics - median equivalised disposable income. Retrieved from Eurostat: Statistics Explained: https://ec.europa.eu/eurostat/statistics-explained/index.php?title=Archive:Living_standard_statistics_-_median_equivalised_disposable_income&oldid=250634

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==