รายได้และการกระจายรายได้ของครัวเรือน พ.ศ. 2566 ระดับจังหวัด

1 - 3 รายได้และการกระจายรายได้ของครัวเรือน พ.ศ. 2566 ระดับจังหวัด 3) คาบเวลาอ้างอิง สำ าหรับข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ของสมาชิกในครัวเรือน จะเป็นรายละเอียดในระยะเวลา 12 เดือนก่อนเดือนสัมภาษณ์ ส่วนข้อมูลค่าใช้จ่ายสินค้าและบริการ จะสอบถามข้อมูลของเดือนที่แล้ว (เดือนตาม ปฏิทินก่อนเดือนสัมภาษณ์) ยกเว้น ค่าใช้จ่ายที่ ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ า เช่น ค่าใช้จ่ายในการซื้อยานพาหนะ ค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ จะสอบถามข้อมูลในรอบ 12 เดือนก่อนเดือนสัมภาษณ์ สำ าหรับข้อมูลค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ จะสอบถามค่าใช้จ่ายของสัปดาห์ที่แล้ว (สัปดาห์ตามปฏิทินก่อนสัปดาห์ สัมภาษณ์) ติดต่อกัน 7 วัน 4) ข้อมูลสถิติที่นำ าเสนอได้จากการประมวลผลข้อมูลที่ ได้จากการสำ ารวจทั่วประเทศ โดยในตารางสถิติ บางตารางผลรวมของแต่ละจำ านวนอาจไม่ เท่ากับยอดรวม และข้อมูลในแต่ละตารางอาจมีความแตกต่างกัน เนื่องจากข้อมูลแต่ละจำ านวนได้มีการปัดเศษโดยอิสระจากกัน 1.5 นิยาม คำ านิยามที่สำ าคัญของข้อมูลที่นำ ามาใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ มีดังนี้ ครัวเรือนส่วนบุคคล ครัวเรือนส่วนบุคคล หมายถึง ครัวเรือนของบุคคลทั่วไปซึ่งประกอบด้วยบุคคลคนเดียว หรือหลายคน อาศัยอยู่ ในบ้านหรือที่อยู่อาศัยเดียวกัน หรือในบริเวณเดียวกัน จัดหาหรือใช้สิ่ งอุปโภคบริโภคอันจำ าเป็นแก่ การครองชีพร่วมกัน โดยบุคคลเหล่านั้นอาจเป็นญาติ หรือไม่เป็นญาติกันก็ได้ เช่น ครัวเรือนที่อาศัยอยู่คนเดียว หรือครัวเรือน ที่มีพ่อแม่ ลูก อาศัยอยู่รวมกัน หรืออาจมีญาติ คนรับใช้ คนงานหรือเพื่อน ๆ มาอยู่ด้วย เป็นต้น หมายเหตุ 1) ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ ในหอพักทั่วไป อพาร์ตเมนต์ แฟลต คอนโดมิเนียม แมนชั่น ห้องชุดอื่น ๆ ให้นับแต่ละห้อง เป็นครัวเรือนส่วนบุคคล 1 ครัวเรือน 2) ครัวเรือนที่มีบ้านพัก ห้องพักส่วนตัวในสถาบัน โรงงาน เช่น บ้านพัก/ห้องพักแพทย์หรือพยาบาลใน โรงพยาบาล บ้านพักอาจารย์ใหญ่ในโรงเรียน บ้านพักภารโรงในโรงเรียน บ้านพักผู้ จัดการในโรงงาน บ้านพัก มัคทายกในวัด บ้านพักนายทหารในกรมกองให้นับ แต่ละหลัง/ห้อง เป็นครัวเรือนส่วนบุคคล 1 ครัวเรือน สมาชิกของครัวเรือน . สมาชิกของครัวเรือน หมายถึง บุคคลซึ่ งอาศัยอยู่ เป็นประจำ าในครัวเรือนส่วนบุคคล รวมทั้งคนที่ เคยอยู่ ในครัวเรือน แต่ได้จากไปที่อื่นชั่วคราว โดยไม่มีวัตถุประสงค์จะไปอยู่ประจำ าที่อื่นและมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 1) จากไปที่อื่นชั่วคราวไม่ถึง 3 เดือน เช่น ไปเยี่ยมญาติ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาล ผู้ที่ไปบวช หรือผู้ไปทำ างานเรียนหนังสือ เป็นต้น (ไม่รวม ผู้ที่จากไปเพื่อเรียนหนังสือหรือประกอบอาชีพซึ่งมีที่อยู่ ประจำ าที่อื่น ผู้ต้องโทษ ผู้ถูกเกณฑ์ทหาร และคนไข้ในโรงพยาบาลโรคจิต ซึ่งต้องอยู่เกิน 3 เดือน) 2) จากไป 3 เดือนขึ้นไป แต่ไม่มีที่อยู่อาศัยประจำ าที่อื่น เช่น ไปทำ างานในเรือ 4 เดือน เซลส์แมน ไปฝึกภาคซ้อมรบ เป็นต้น 3) จากไปเพื่ อศึกษา อบรม ดูงานต่างประเทศไม่ถึง 6 เดือนรวม ผู้ ที่ มาพักอาศัยอยู่ ชั่ วคราว เกินกว่า 3 เดือน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==