รายได้และการกระจายรายได้ของครัวเรือน พ.ศ. 2566 ระดับจังหวัด
2 - 24 รายได้และการกระจายรายได้ของครัวเรือน พ.ศ. 2566 ระดับจังหวัด ตาราง 6 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน รายจังหวัด ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนจำ าแนกออกเป็น 2 ประเภทคือค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและค่าใช้จ่าย ที่ไม่ใช่เพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น ค่าภาษี เงินบริจาค เงินทำ าบุญ ค่าเบี้ยประกัน ดอกเบี้ยจ่าย ค่าสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น โดยค่าใช้จ่ายทั้ง 2 กลุ่มนี้จะไม่รวม ค่าผ่อนส่งบ้าน/ที่ดิน และรายจ่ายเพื่อการสะสมทุน รวมทั้งรายจ่ายที่เป็น การออม เช่น เบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เงินสะสมกองทุนสำ ารองเลี้ยงชีพ/กบข. เป็นต้น ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน แสดงถึงภาระค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่ครัวเรือนต้องจ่าย ในแต่ละเดือน ทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคประจำ าทุกเดือน และค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เพื่อการอุปโภคบริโภค ค่าใช้จ่ายต่อคน คำ านวณจากค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือนหารด้วยจำ านวนสมาชิกของครัวเรือน (รวมคนรับใช้) ซึ่งสมาชิกในครัวเรือนอาจมีทั้งผู้ที่ทำ างานมีรายได้ และผู้ที่ไม่มีรายได้ (ไม่ได้ทำ างาน) เช่น เด็กและเยาวชนที่ กำ าลังเรียน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นต้น พิจารณาค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ประเภท (ตาราง 6) พบว่า ในระดับภาค ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน เพื่อการอุปโภคบริโภคมีค่าสูงสุดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัดปริมณฑล 27,899 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ ยังพบว่าในทุกพื้นที่ ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเพื่อการอุปโภคบริโภคซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่จำ าเป็นสำ าหรับการดำ ารงชีวิตของครัวเรือน คิดเป็นมากกว่าร้อยละ 80 ของค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น และเป็นที่น่าสังเกตว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคสูงกว่าร้อยละ 90 ของค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วน ของค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เพื่อการอุปโภคบริโภคสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ภูเก็ต และระยอง และหากพิจารณาค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อคน พบว่า ในระดับภาค ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อคน มีค่าสูงสุดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัดปริมณฑล 13,515 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อคนของ ทั้งประเทศ (8,886 บาทต่อเดือน) โดยภาคที่มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อคนต่ำ าสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (6,610 บาท ต่อเดือน) ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัดปริมณฑลและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อคน แตกต่างกันกว่า 2 เท่า จังหวัด ขนาดของ ครัวเรือน (คน/ครัวเรือน) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน (บาท/เดือน) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน (บาท/เดือน) ค่าใช้จ่าย ทั้งสิ้น ค่าใช้จ่ายเพื่อ การอุปโภค บริโภค ค่าใช้จ่ายที่ ไม่ใช่ เพื่อการ อุปโภคบริโภค ค่าใช้จ่าย ทั้งสิ้น ค่าใช้จ่ายเพื่อ การอุปโภค บริโภค ค่าใช้จ่ายที่ ไม่ใช่ เพื่อการ อุปโภคบริโภค ทั่วราชอาณาจักร 2.7 23,695 20,644 3,050 8,886 7,742 1,144 กรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัด 2.4 32,096 27,899 4,197 13,515 11,748 1,767 กรุงเทพมหานคร 2.3 32,736 28,430 4,306 14,181 12,316 1,866 นนทบุรี 2.2 31,331 27,463 3,868 13,933 12,213 1,720 ปทุมธานี 2.8 36,003 31,575 4,428 12,933 11,343 1,591 สมุทรปราการ 2.4 27,355 23,479 3,876 11,417 9,799 1,618 ภาคกลาง 2.6 24,635 21,134 3,501 9,565 8,205 1,359 กาญจนบุรี 2.7 21,348 18,130 3,218 7,879 6,691 1,188 จันทบุรี 2.9 27,322 24,157 3,165 9,478 8,380 1,098 ฉะเชิงเทรา 2.3 23,548 20,453 3,096 10,208 8,866 1,342 ชลบุรี 2.4 31,685 25,907 5,777 13,322 10,893 2,429
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==