รายได้และการกระจายรายได้ของครัวเรือน พ.ศ. 2566 ระดับจังหวัด

2 - 42 รายได้และการกระจายรายได้ของครัวเรือน พ.ศ. 2566 ระดับจังหวัด หมายเหตุ : N/A หมายถึง not applicable ตาราง 10 ร้อยละของครัวเรือนที่มีหนี้สิน จำ าแนกตามสถานะทางเศรษฐสังคมของครัวเรือน รายจังหวัด (ต่อ) จังหวัด ครัวเรือน ทั้งหมด ผู้ถือครอง ทำ าการ เกษตร ผู้ประกอบ ธุรกิจ ที่ไม่ใช่ การเกษตร ลูกจ้าง ผู้ไม่ได้ ปฏิบัติงาน ในเชิง เศรษฐกิจ ลูกจ้าง ทั้งหมด ผู้จัดการ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน วิชาชีพ เสมียน พนักงานขาย และให้บริการ ผู้ปฏิบัติงาน ในการผลิต ก่อสร้าง และเหมืองแร่ คนงานเกษตร ป่าไม้ และประมง ภูเก็ต 53.8 N/A 55.8 58.0 61.1 37.2 16.2 ยะลา 38.3 29.1 47.5 47.7 51.6 42.4 13.3 ระนอง 36.1 44.6 32.5 36.3 56.2 18.1 25.2 สงขลา 34.7 36.7 47.2 41.0 41.7 39.8 10.4 สตูล 46.9 48.4 52.2 51.0 49.7 52.9 24.6 สุราษฎร์ธานี 55.9 58.0 71.8 57.2 62.4 50.6 27.8 เมื่อพิจารณามูลค่าหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนที่เป็นหนี้ ตามสถานะทางเศรษฐสังคม (ตาราง 11) พบว่า ครัวเรือนลูกจ้างที่เป็นผู้จัดการ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ เสมียน พนักงานขายและให้บริการมีมูลค่าหนี้สิน เฉลี่ยสูงกว่าครัวเรือนประเภทอื่น ๆ และหากพิจารณาดูในพื้นที่แต่ละภาค พบว่า ในกรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัด ปริมณฑล และภาคใต้ ครัวเรือนผู้จัดการ นักวิชาการผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ เสมียน พนักงานขายและให้บริการ มีมูลค่าหนี้ สินเฉลี่ยสูงสุดเมื่อเทียบกับครัวเรือนประเภทอื่น ๆ (625,520 607,375 และ 540,221 บาทต่อครัวเรือน ตามลำ าดับ) ส่วนภาคใต้ และกรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัดปริมณฑล ครัวเรือนผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร มีมูลค่าหนี้สิน เฉลี่ยสูงสุดเมื่อเทียบกับครัวเรือนประเภทอื่น ๆ (704,463 และ 636,593 บาทต่อครัวเรือน ตามลำ าดับ) หากพิจารณามูลค่าหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนที่เป็นหนี้ในระดับจังหวัด พบว่า ครัวเรือน ในจังหวัดนนทบุรี มีมูลค่าหนี้สินเฉลี่ยสูงสุด (834,323 บาทต่อครัวเรือน) รองลงมาคือ จังหวัดภูเก็ต (790,478 บาท ต่อครัวเรือน) และจังหวัดสงขลา (653,718 บาทต่อครัวเรือน) และเมื่อพิจารณามูลค่าหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนที่เป็นหนี้ ตามสถานะทางเศรษฐสังคมของครัวเรือนในแต่ละจังหวัด พบว่า ครัวเรือนผู้ถือครองทำ าการเกษตรมีมูลค่าหนี้สินเฉลี่ย สูงสุดในจังหวัดระยอง (945,357 บาทต่อครัวเรือน) ส่วนครัวเรือนผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตรมีหนี้เฉลี่ยสูงสุด ในจังหวัดสงขลา (1,507,814 บาทต่อครัวเรือน) ครัวเรือนลูกจ้างทีเป็นผู้จัดการ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ เสมียน พนักงานขายและให้บริการมีหนี้เฉลี่ยสูงสุดในจังหวัดเลย(1,213,989บาทต่อครัวเรือน)ครัวเรือนลูกจ้างที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน ในการผลิต ก่อสร้าง และเหมืองแร่ คนงานเกษตร ป่าไม้ และประมงมีหนี้เฉลี่ยสูงสุดในจังหวัดสมุทรปราการ (580,882 บาทต่อครัวเรือน) และครัวเรือนผู้ไม่ได้ปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจ มีหนี้เฉลี่ยสูงสุดในจังหวัดเลย (799,634 บาทต่อครัวเรือน) สำ าหรับวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม (ตาราง 12) พบว่า ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ กู้ยืมเงินเพื่อซื้อ/เช่าซื้อบ้านและ/หรือที่ดินมากที่สุด ส่วนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กู้ยืมเงินเพื่อใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนมากที่สุด โดยจังหวัดที่มีสัดส่วน หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคสูงสุด คือจังหวัดสกลนคร ร้อยละ 61.6 รองลงมาคือจังหวัดยโสธร ร้อยละ 59.1 และจังหวัดเลย ร้อยละ 58.9 ในขณะที่ครัวเรือนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัดปริมณฑล โดยส่วนใหญ่กู้ยืมเงินเพื่อใช้ซื้อ/ เช่าซื้อบ้านและที่ดิน โดยเฉพาะครัวเรือนในจังหวัดนนทบุรีที่หนี้สินร้อยละ 82.2 เกิดจากการซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนหนี้สินเพื่อการเกษตรสูงสุด คือ จังหวัดกำ าแพงเพชร ร้อยละ 48.6 และจังหวัดที่มีสัดส่วนหนี้สิน เพื่อใช้ประกอบธุรกิจสูงสุด คือ จังหวัดพังงา ร้อยละ 28.1

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==