รายได้และการกระจายรายได้ของครัวเรือน พ.ศ. 2560 ระดับจังหวัด

การกระจายรายได้ เมื่อแบ่งครัวเรือนออกเป็น 5 กลุ่ม ตามการ เรียงล าดับรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อคนจากน้อยไปมาก โดยกลุ่มที่ 1 (กลุ่มควินไทล์ที่ 1) เป็นกลุ่มครัวเรือนที่ มีรายได้น้อยที่สุด และกลุ่มที่ 5 (กลุ่มควินไทล์ที่ 5) เป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้มากที่สุด พบว่า ในปี 2560 เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 45.0) ของรายได้ ทั้งหมด เป็นรายได้ของครัวเรือนในกลุ่มควินไทล์ที่ 5 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44.3 ในปี 2558 และครัวเรือน ในกลุ่มควินไทล์ที่ 1 มีส่วนแบ่งรายได้ร้อยละ 7.2 ใน ปี 2560 ลดลงจากปี 2558 ซึ่งมีส่วนแบ่งรายได้ร้อย ละ 7.5 ความแตกต่างที่เพิ่มขึ้นนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า ความเหลื่อมล้าทางด้านรายได้มีแนวโน้มที่สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างภาค พบว่า ภาคที่ ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 5 มีส่วนแบ่งรายได้มากที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 44.1) และ ภาคที่ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 1 มีส่วนแบ่งรายได้น้อย ที่สุด คือ ภาคใต้ ซึ่งมีส่วนแบ่งรายได้เพียงร้อยละ 7.9 เท่านั้น เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอ ภาคของการกระจายรายได้ (Gini Coefficient) ซึ่งใช้ วัดความเหลื่อมล้าของการกระจายรายได้ พบว่า ความเหลื่อมล้าในแต่ละภาคไม่แตกต่างกันโดยมีค่า อยู่ระหว่าง 0.306 ถึง 0.322 ยกเว้นภาคกลางและ ภาคเหนือที่มีค่าต่ากว่าภาคอื่น ๆ คือ 0.283 และ 0.295 ตามลาดับ ซึ่งหมายความว่า ภาคกลางและ กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัด มีการกระจายรายได้ ดีกว่าภาคอื่น ๆ เมื่อพิจารณาความเหลื่อมล้าของการกระจาย รายได้ระดับจังหวัด (แผนที่ 1) พบว่า จังหวัดที่มี ความเหลื่อมล้าในการกระจายรายได้มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ชัยนาท (0.456) จันทบุรี (0.405) ลาปาง (0.386) สิงห์บุรี (0.385) และมุกดาหาร (0 .382 ) ส่วนจังหวัดที่มีความเหลื่อมล้าในการ กระจาย ราย ได้น้อยที่สุด 5 อันดับแ รก ได้แก่ สมุทรสาคร (0.135) ชลบุรี (0.153) สมุทรปราการ (0.173) ยะลา (0.179) และเชียงราย (0.189) ........ แผนภูมิ 3 ส่วนแบ่งรายได้ ตามกลุ่มควินไทล์ จาแนกตามภาค พ.ศ. 2560 ฌ

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==