Income 2562

2 – 71 2.4 การกระจายรายได้ของครัวเรือน 2.4.1 การแบ่งกลุ่มและแบ่งชั้นของรายได้ การกระจายรายได้ของครัวเรือนในระดับจังหวัดสามารถทาการศึกษาได้โดยแบ่งครัวเรือนในแต่ละ จังหวัดออกเป็น 5 กลุ่มเท่า ๆ กัน กล่าวคือ เรียงครัวเรือนตามลาดับของ รายได้ประจาเฉลี่ยต่อคนต่อเดือน จากน้อย ไปหามาก แล้วแบ่งครัวเรือนออกเป็น 5 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีจานวนครัวเรือนเป็นร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมด ในจังหวัด วิธีการดังกล่าวนี้ เรียกว่า การแบ่งกลุ่มควินไทล์ตามรายได้ประจาต่อคนต่อเดือน โดยกลุ่มครัวเรือน 20% แรกของครัวเรือนในจังหวัด เป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่าที่สุด เรียกว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 1 กลุ่มครัวเรือน 20% ที่มีรายได้ในลาดับถัดไป เรียกว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 2 ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 3 ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 4 ตามลาดับ จนไปถึง กลุ่มครัวเรือน 20% สุดท้ายของครัวเรือนในจังหวัด ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงที่สุด เรียกว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 5 นอกจากการศึกษาการแจกแจงของรายได้ระหว่างกลุ่มแล้ว การแบ่งกลุ่มควินไทล์ตามรายได้ประจาต่อ คนต่อเดือน ยังสามารถนาไปคานวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคของการกระจายรายได้ในแต่ละจังหวัด โดยใช้สัมประสิทธิ์จีนี (Gini Coefficient) ซึ่งสัมประสิทธิ์จีนีเป็นค่าที่บ่งชี้ความเหลื่อมล้าของการกระจายรายได้ ครัวเรือน มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 โดยถ้าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคเป็น 0 แสดงว่า ไม่มีความแตกต่างของรายได้ ครัวเรือนเลย กล่าวคือ ทุกครัวเรือนมีรายได้เท่ากัน หากสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคมีค่าสูงขึ้น การกระจายรายได้ ก็จะเหลื่อมล้ากันมากขึ้น และถ้าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคมีค่าเท่ากับ 1 หมายความว่า มีความเหลื่อมล้า อย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ มีคนที่มีรายได้เพียงคนเดียว ส่วนคนที่เหลือไม่มีรายได้เลย เมื่อเปรียบเทียบการกระจายตัวของรายได้ตามกลุ่มควินไทล์ (ตาราง 19) พบว่า ครัวเรือนในควินไทล์ ที่ 1 หรือครัวเรือนกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่าที่สุด มีส่วนแบ่งของรายได้เพียงร้อยละ 7.7 ของ รายได้ประจาของครัวเรือนทั่วประเทศ และส่วนแบ่งของรายได้นี้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในกลุ่มครัวเรือนถัดขึ้นไป คือ ร้อยละ 12.0 ในครัวเรือนกลุ่มที่ 2 ร้อยละ 16.5 ในครัวเรือนกลุ่มที่ 3 และร้อยละ 21.1 ในครัวเรือนกลุ่มที่ 4 สาหรับครัวเรือนกลุ่มที่ 5 ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงที่สุด มีส่วนแบ่งรายได้เกือบครึ่งหนึ่งของ รายได้ประจาของครัวเรือนทั่วประเทศ หรือร้อยละ 42.7 มีค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคด้านรายได้ของ ครัวเรือนทั่วประเทศ เท่ากับ 0.316 เมื่อพิจารณาการกระจายรายได้ระดับจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มีสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคสูงที่สุด คือ จังหวัดระนอง 0.502 แสดงว่า จังหวัดระนองมีการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันมากหรือมีความเหลื่อมล้า มากที่สุดเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งเห็นได้จากครัวเรือนกลุ่มที่ 5 มีส่วนแบ่งของรายได้สูงมากกว่าครึ่งหนึ่งของ รายได้ทั้งหมดในจังหวัด หรือ คิดเป็นร้อยละ 62.0 ในขณะที่ครัวเรือนกลุ่มที่ 1 มีส่วนแบ่งของรายได้เพียงร้อยละ 2.3 รองลงมาคือ สมุทรสงคราม (0.469) ซึ่งครัวเรือนในกลุ่มที่ 5 มีส่วนแบ่งรายได้ร้อยละ 62.3 ในขณะที่กลุ่ม ครัวเรือนที่ 1 มีส่วนแบ่งร้อยละ 6.0 เท่านั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==