Income 2562

2 – 9 2.2 ลักษณะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน 2.2.1 รายได้ รายได้ของครัวเรือน สามารถพิจารณาได้เป็น 2 ประเภท คือ รายได้ทั้งสิ้น และรายได้ประจา ซึ่งรายได้ ทั้ง 2 ประเภทนี้ มีคานิยามแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้ รายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อครัวเรือน จะนับรวมรายได้ทุกประเภทที่ครัวเรือนได้รับ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่ ครัวเรือนได้รับเป็นประจา เช่น รายได้จากการทางาน รายได้จากทรัพย์สิน เงินที่คนนอกครัวเรือนส่งมาให้เป็น ประจา เป็นต้น หรือรายได้ที่ครัวเรือนได้รับไม่ประจาหรือเป็นครั้งคราว เช่น เงินที่ได้รับเป็นเงินรางวัล เงินถูกสลาก กินแบ่ง เงินมรดก ของขวัญ เงินได้รับจากการประกันสุขภาพ อุบัติเหตุ ไฟไหม้ หรือค่านายหน้า (ในกรณีที่ไม่ได้ ประกอบเป็นธุรกิจ) เป็นต้น ดังนั้น รายได้ทั้งสิ้นจึงสะท้อนถึงรายได้ที่ครัวเรือนได้รับทั้งหมด ซึ่งเป็นศักยภาพด้าน การเงินของครัวเรือนที่แท้จริงในช่วงเวลานั้น ๆ เท่านั้น แต่ไม่ได้สะท้อนว่า ครัวเรือนจะมีศักยภาพด้านการเงิน เช่นเดียวกันนี้ในช่วงเวลาอื่นที่ใกล้เคียงกันด้วย เพราะรายได้ไม่ประจาบางประเภท มีมูลค่าสูง แต่จะได้รับเพียงครั้ง เดียวหรือนาน ๆ ครั้งเท่านั้น เช่น เงินถูกสลากกินแบ่ง เงินมรดก เป็นต้น รายได้ประจาเฉลี่ยต่อครัวเรือน เป็นรายได้ในสภาวะปกติ ที่ครัวเรือนได้รับเป็นประจาตามกาหนด ระยะเวลา ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทางาน หรือ รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทางานแต่ได้รับเป็นประจา เช่น เงินที่ ลูกส่งมาให้ ดอกเบี้ยรับ เป็นต้น โดยไม่รวมรายได้บางประเภทที่ครัวเรือนจะได้รับในบางโอกาสหรือนานๆ ครั้ง ดังนั้น รายได้ประจาจึงแสดงให้เห็นถึง ความสามารถหรือศักยภาพด้านการเงินในช่วงเวลานั้น และยังสะท้อนถึง ศักยภาพในช่วงเวลาใกล้เคียงกันได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ในการศึกษาเกี่ยวกับรายได้ จึงนิยมใช้รายได้ประจามากกว่า รายได้ทั้งสิ้น เนื่องจากรายได้ประจาแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครัวเรือนได้ดีกว่ารายได้ทั้งสิ้น สาหรับ รายได้เฉลี่ยต่อคน คานวณจากการนารายได้ของครัวเรือนในแต่ละครัวเรือนหารด้วยจานวน สมาชิกของครัวเรือนนั้น (ไม่รวมคนรับใช้) ซึ่งสมาชิกในครัวเรือน อาจมีทั้งผู้ที่ทางานมีรายได้ และผู้ที่ไม่มีรายได้ (ไม่ได้ทางาน) เช่น เด็กและเยาวชนที่กาลังเรียน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นต้น จากการวิเคราะห์ด้านรายได้ (ตาราง 3) พบว่า รายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อครัวเรือน และรายได้ประจาเฉลี่ย ต่อครัวเรือน มีค่าสูงสุดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัดปริมณฑล 37,751 บาทต่อเดือน และ 37,631 บาท ต่อเดือน ตามลาดับ และมีค่าน้อยที่สุดในภาคเหนือ 20,269 บาทต่อเดือน และ 19,749 บาทต่อเดือน ตามลาดับ ส่วนรายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อคน และรายได้ประจาเฉลี่ยต่อคน ยังคงมีค่าสูงสุดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัด ปริมณฑล 16,137 บาทต่อเดือน และ 16,088 บาทต่อเดือน ตามลาดับ แต่กลับไปมีค่าน้อยที่สุดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 8,111 บาทต่อเดือน และ 7,930 บาทต่อเดือน ตามลาดับ เมื่อพิจารณารายได้ประจาเฉลี่ยต่อครัวเรือนและเฉลี่ยต่อคน ระดับจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มี รายได้ ประจาเฉลี่ยต่อครัวเรือน มากที่สุดและน้อยที่สุดของประเทศ คือ ปทุมธานี (46,648 บาทต่อเดือน) และแม่ฮ่องสอน (13,953 บาทต่อเดือน) ตามลาดับ ซึ่งต่างกันถึง 3.3 เท่า ส่วนจังหวัดที่มี รายได้ประจาเฉลี่ยต่อคน มากที่สุด ยังคง เป็นปทุมธานี (17,737 บาทต่อเดือน) แต่จังหวัดที่มีรายได้ประจาเฉลี่ยต่อคนน้อยที่สุดกลับเป็นจังหวัดบุรีรัมย์ (5,741 บาทต่อเดือน) หากเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (Mean) กับค่ามัธยฐาน (Median) ของรายได้ครัวเรือน พบว่า ค่าเฉลี่ย (Mean) สูงกว่าค่ามัธยฐาน (Median) ในทุกระดับทุกพื้นที่ ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่า ส่วนแบ่งของรายได้ส่วนใหญ่ตกไปอยู่ ในกลุ่มคนรวย อันสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้าของการกระจายรายได้ได้อย่างชัดเจน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==