Income 2562

2 – 49 2.3 ความสัมพันธ์ของค่าใช้จ่ายกับรายได้ และหนี้สินกับรายได้ 2.3.1 สัดส่วนระหว่างค่าใช้จ่ายกับรายได้ สัดส่วนระหว่างค่าใช้จ่ายกับรายได้ เป็นสัดส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความเพียงพอของรายได้เมื่อ เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่าย โดยในที่นี้ได้คานวณออกมาเป็นร้อยละ กล่าวคือ หากค่าสัดส่วนคานวณออกมามีค่า น้อยกว่า 100 หมายความว่าครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ หรือมีรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ซึ่งในกรณีนี้ ครัวเรือนมีโอกาสเก็บออม หากค่าสัดส่วนมีค่าเท่ากับ 100 หมายความว่าครัวเรือนหารายได้มาได้พอดีกับค่าใช้จ่าย และหากค่าสัดส่วนมีค่ามากกว่า 100 หมายความว่า ค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ หรือรายได้ที่หามาได้ไม่เพียงพอต่อ ภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งในกรณีนี้ ครัวเรือนอาจจะต้องกู้ยืม หรือนาเงินออมของตนออกมาใช้เพื่อให้พอดีกับภาระ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในตาราง 13 ได้คานวณสัดส่วนระหว่างค่าใช้จ่ายกับรายได้ ไว้ 3 รูปแบบ คือ 1) สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อรายได้ประจา ซึ่งชี้ให้เห็นว่ารายได้ที่ได้รับเป็นประจา เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายปกติในชีวิตประจาวันหรือไม่ 2) สัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อรายได้ประจา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารายได้ที่ได้รับเป็นประจาเพียงพอ ต่อค่าใช้จ่ายปกติในชีวิตประจาวันและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นมาหรือไม่ 3) สัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อรายได้ทั้งสิ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารายได้ที่ได้รับเป็นประจาและรายได้อื่น ที่ไม่ประจา เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายปกติในชีวิตประจาวันและค่าใช้จ่ายอื่นนอกเหนือจากการดาเนินชีวิตปกติที่อาจเกิด ขึ้นมาหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนค่าใช้จ่ายกับรายได้ทั้ง 3 รูปแบบ พบว่า สัดส่วนของ ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อรายได้ทั้งสิ้น และสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อรายได้ประจา มีค่าไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะว่า รายได้ส่วนใหญ่ของครัวเรือนไทยเป็นรายได้ประจา โดยรายได้ไม่ประจาซึ่งเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้งในรอบปี มีสัดส่วนต่า เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ตามคานิยามของค่าใช้จ่ายจะพบความสัมพันธ์ว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อ รายได้ประจาจะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อรายได้ประจาเสมอ และเป็นที่ น่าสังเกตว่า (ตาราง 13) สัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อรายได้ทั้งสิ้นมีค่าที่สูงกว่า สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค บริโภคต่อรายได้ประจา เมื่อพิจารณาสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (ตาราง 13) พบว่า ครัวเรือนทั่วประเทศมีสัดส่วนของ ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นคิดเป็นร้อยละ 79.7 ของรายได้ทั้งสิ้น และเป็นร้อยละ 80.7 ของรายได้ประจา และพบว่า ครัวเรือน ทั่วประเทศมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นร้อยละ 69.8 ของรายได้ประจา โดยภาคที่มีสัดส่วน ดังกล่าวนี้สูงที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง คิดเป็นร้อยละ 72.7 และ ร้อยละ 69.8 ตามลาดับ ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อรายได้ประจาสูงที่สุด คือ บึงกาฬและ หนองคาย ร้อยละ 88.8 และ 85.0 และถ้าหากพิจารณาสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อรายได้ประจาของครัวเรือน พบว่า จังหวัดบึงกาฬ (ร้อยละ 100.1) เป็นจังหวัดเดียวที่มีรายได้ประจาไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ส่วนจังหวัดที่เกือบมี ความเสี่ยงมีรายได้ประจาไม่พอดีกับค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น คือ จังหวัดร้อยเอ็ด คิดเป็นร้อยละ 97.7

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==