รายได้และการกระจายรายได้ของครัวเรือน พ.ศ. 2564 ระดับจังหวัด

2 - 72 2 .4.1 การแบ่งกลุ่มและแบ่งชั้นของรายได้้้ การกระจายรายได้ของครัวเรือนในระดับจังหวัดสามารถทำ าการศึกษาได้โดยแบ่งครัวเรือน ในแต่ละจังหวัดออกเป็น 5 กลุ่มเท่า ๆ กัน กล่าวคือ เรียงครัวเรือนตามลำ าดับของรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อคนต่อเดือน จากน้อยไปหามาก แล้วแบ่งครัวเรือนออกเป็น 5 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีจำ านวนครัวเรือนเป็นร้อยละ 20 ของครัวเรือน ทั้งหมดในจังหวัด วิธีการดังกล่าวนี้ เรียกว่า การแบ่งกลุ่มควินไทล์ตามรายได้ประจำ าต่อคนต่อเดือน โดยกลุ่ม ครัวเรือน 20% แรกของครัวเรือนในจังหวัด เป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ าสุด เรียกว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 1 กลุ่มครัวเรือน 20% ที่มีรายได้ในลำ าดับถัดไป เรียกว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 2 ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 3 ครัวเรือน ในควินไทล์ที่ 4 ตามลำ าดับ จนไปถึง กลุ่มครัวเรือน 20% สุดท้ายของครัวเรือนในจังหวัด ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มี รายได้สูงสุด เรียกว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 5 นอกจากการศึกษาการแจกแจงของรายได้ระหว่างกลุ่มแล้ว การแบ่งกลุ่มควินไทล์ตาม รายได้ประจำ าต่อคนต่อเดือน ยังสามารถนำ าไปคำ านวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคหรือสัมประสิทธิ์ จีนี (Gini Coefພcient) ของการกระจายรายได้ในแต่ละจังหวัด ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคเป็นค่าที่บ่งชี้ความ เหลื่อมล้ำ าของการกระจายรายได้ครัวเรือน มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 โดยหากสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคเป็น 0 แสดงว่า ไม่มีความแตกต่างของรายได้ครัวเรือนเลย กล่าวคือ ทุกครัวเรือนมีรายได้เท่ากัน หากสัมประสิทธิ์ความไม่ เสมอภาคมีค่าสูงขึ้น การกระจายรายได้ก็จะเหลื่อมล้ำ ากันมากขึ้น และหากสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคมีค่าเท่ากับ 1 หมายความว่า มีความเหลื่อมล้ำ าอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ มีคนที่มีรายได้เพียงคนเดียว ส่วนคนที่เหลือไม่มีรายได้เลย เมื่อเปรียบเทียบการกระจายตัวของรายได้ครัวเรือนในแต่ละกลุ่มควินไทล์ (ตาราง 19) พบว่า ครัวเรือนในควินไทล์ที่ 1 หรือครัวเรือนกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ าสุด มีส่วนแบ่งของรายได้ประจำ าเพียง ร้อยละ 9.7 ของรายได้ประจำ าของครัวเรือนทั่วประเทศ โดยส่วนแบ่งของรายได้ประจำ านี้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในกลุ่มครัวเรือน ถัดขึ้นไป คือ ร้อยละ 13.7 ในครัวเรือนกลุ่มที่ 2 ร้อยละ 16.1 ในครัวเรือนกลุ่มที่ 3 และร้อยละ 20.4 ในครัวเรือน กลุ่มที่ 4 สำ าหรับครัวเรือนกลุ่มที่ 5 ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด มีส่วนแบ่งรายได้ประจำ าเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ ประจำ าของครัวเรือนทั่วประเทศ หรือร้อยละ 40.2 สำ าหรับค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคด้านรายได้ของครัวเรือนทั่วประเทศ มีค่าเท่ากับ 0.310 และเมื่อพิจารณาการกระจายรายได้ระดับจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มีสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคสูงสุด คือ นครราชสีมา 0.373 แสดงว่า จังหวัดนครราชสีมามีการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันมากหรือมีความเหลื่อมล้ำ ามากที่สุดเมื่อเทียบกับ จังหวัดอื่น ๆ ซึ่งเห็นได้จากครัวเรือนกลุ่มที่ 5 ที่มีส่วนแบ่งของรายได้สูงเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดในจังหวัด หรือคิดเป็นร้อยละ 49.1 ในขณะที่ครัวเรือนกลุ่มที่ 1 มีส่วนแบ่งของรายได้เพียง ร้อยละ 6.6 รองลงมาคือ จังหวัดราชบุรี มีสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค 0.365 ซึ่งครัวเรือนในกลุ่มที่ 5 ของจังหวัดราชบุรีมีส่วนแบ่งรายได้ร้อยละ 45.8 และในกลุ่มครัวเรือนที่ 1 มีส่วนแบ่งเพียงร้อยละ 3.3 เท่านั้น ส่วนจังหวัดที่มีความเหลื่อมล้ำ าหรือความไม่เสมอภาคของการกระจายรายได้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ จังหวัดอื่น ๆ คือ จังหวัดกำ าแพงเพชร มีค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค 0.161 โดยครัวเรือนกลุ่มที่ 1 ของจังหวัดกำ าแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อยที่สุด มีส่วนแบ่งของรายได้ประจำ าสูงถึงร้อยละ 13.4 ในขณะที่ครัวเรือนกลุ่มที่ 5 ของจังหวัด กำ าแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้มากที่สุดมีสัดส่วนของรายได้ประจำ าร้อยละ 31.3 รองลงมาคือ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดยะลา ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคอยู่ที่ 0.175 จังหวัดสมุทรปราการ 0.184 จังหวัดสุพรรณบุรี 0.195 จังหวัดชลบุรี 0.197 เป็นต้น

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==