รายได้และการกระจายรายได้ของครัวเรือน พ.ศ. 2564 ระดับจังหวัด

2 - 10 รายได้ของครัวเรือน สามารถพิจารณาได้เป็น 2 ประเภท คือ รายได้ทั้งสิ้น และรายได้ ประจำ า ซึ่งรายได้ทั้ง 2 ประเภทนี้ มีคำ านิยามแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้ รายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อครัวเรือน จะนับรวมรายได้ทุกประเภทที่ครัวเรือนได้รับ ไม่ว่าจะเป็น รายได้ที่ครัวเรือนได้รับเป็นประจำ า เช่น รายได้จากการทำ างาน รายได้จากทรัพย์สิน เงินที่คนนอกครัวเรือนส่งมาให้ เป็นประจำ า เป็นต้น หรือรายได้ที่ ครัวเรือนได้รับไม่ประจำ าหรือเป็นครั้ งคราว เช่น เงินที่ ได้รับเป็นเงินรางวัล เงินถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล เงินมรดก ของขวัญ เงินได้รับจากการประกันสุขภาพ อุบัติเหตุ ไฟไหม้ หรือค่านายหน้า (ในกรณีที่ ไม่ได้ประกอบเป็นธุรกิจ) เป็นต้น ดังนั้น รายได้ทั้ งสิ้ นจึงสะท้อนถึงรายได้ที่ ครัวเรือนได้รับทั้ งหมด ซึ่งเป็นศักยภาพด้านการเงินของครัวเรือนที่แท้จริงในช่วงเวลานั้น ๆ เท่านั้น แต่ไม่ได้สะท้อนว่า ครัวเรือนจะมี ศักยภาพด้านการเงินเช่นเดียวกันนี้ในช่วงเวลาอื่นที่ใกล้เคียงกันด้วย เพราะรายได้ไม่ประจำ าบางประเภท มีมูลค่าสูง แต่จะได้รับเพียงครั้งเดียวหรือนาน ๆ ครั้งเท่านั้น เช่น เงินถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล เงินมรดก เป็นต้น รายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อครัวเรือน เป็นรายได้ในสภาวะปกติ ที่ครัวเรือนได้รับเป็นประจำ า ตามกำ าหนดระยะเวลา ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำ างาน หรือรายได้ที่ ไม่ได้ เกิดจากการทำ างานแต่ ได้รับ เป็นประจำ า เช่น เงินที่ลูกส่งมาให้ ดอกเบี้ยรับ เป็นต้น โดยไม่รวมรายได้บางประเภทที่ครัวเรือนจะได้รับในบางโอกาส หรือนานๆ ครั้ง ดังนั้น รายได้ประจำ าจึงแสดงให้เห็นถึง ความสามารถหรือศักยภาพด้านการเงินในช่วงเวลานั้น และยังสะท้อนถึงศักยภาพในช่วงเวลาใกล้เคียงกันได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ในการศึกษาเกี่ยวกับรายได้จึงนิยมใช้รายได้ ประจำ ามากกว่ารายได้ทั้งสิ้น เนื่องจากรายได้ประจำ าแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครัวเรือนได้ดี กว่ารายได้ทั้งสิ้น สำ าหรับ รายได้เฉลี่ยต่อคน คำ านวณจากการนำ ารายได้ของครัวเรือนในแต่ละครัวเรือน หารด้วยจำ านวนสมาชิกของครัวเรือนนั้น (ไม่รวมคนรับใช้) ซึ่ งสมาชิกในครัวเรือน อาจมีทั้งผู้ที่ทำ างานมีรายได้ และผู้ที่ไม่มีรายได้ (ไม่ได้ทำ างาน) เช่น เด็กและเยาวชนที่กำ าลังเรียน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นต้น จากการวิเคราะห์ด้านรายได้ (ตาราง 3) พบว่า รายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อครัวเรือน และ รายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อครัวเรือนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัดปริมณฑลมีค่าสูงสุด 39,047 บาทต่อเดือน และ 38,737 บาทต่อเดือน ตามลำ าดับ และในภาคเหนือมีค่าน้อยที่สุด 20,995 บาทต่อเดือน และ 20,610 บาทต่อเดือน ตามลำ าดับ ส่วนรายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อคน และรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อคน ยังคงมีค่าสูงสุดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดปริมณฑล 15,542 บาทต่อเดือน และ 15,419 บาทต่อเดือน ตามลำ าดับ แต่กลับไปมีค่าน้อยที่สุด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7,394 บาทต่อเดือน และ 7,252 บาทต่อเดือน ตามลำ าดับ เมื่อพิจารณารายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อครัวเรือนและเฉลี่ยต่อคน ระดับจังหวัด พบว่า จังหวัด ที่มีรายได้ประจำ าเฉลี่ ยต่อครัวเรือน มากที่สุดและน้อยที่สุดของประเทศ คือ นนทบุรี (41,004 บาทต่อเดือน) และแม่ฮ่องสอน (15,491 บาทต่อเดือน) ตามลำ าดับ ซึ่งต่างกันถึง 2.6 เท่า ส่วนจังหวัดที่มีรายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อคน มากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร (16,365 บาทต่อเดือน) แต่จังหวัดที่มี รายได้ประจำ าเฉลี่ยต่อคน น้อยที่สุดกลับเป็น จังหวัดนราธิวาส (5,014 บาทต่อเดือน) หากเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (Mean) กับค่ามัธยฐาน (Median) ของรายได้ครัวเรือน พบว่า ค่าเฉลี่ย (Mean) สูงกว่าค่ามัธยฐาน (Median) ในทุกระดับทุกพื้นที่ บ่งชี้ให้เห็นว่า ส่วนแบ่งของรายได้ส่วนใหญ่ ตกไปอยู่ในกลุ่มคนรวย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำ าของการกระจายรายได้ได้อย่างชัดเจน

RkJQdWJsaXNoZXIy MTA3NzA0Nw==